แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลักโดยใช้หนังสือพัฒนาทักษะภาษา_ครูพัชณี
คำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด
สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล
ผู้วิจัย: นางพัชณี สุขแสงศรี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัด
สำนักงานปลัด เทศบาลตำบลทุ่งสัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย: 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของวิจัยได้แก่ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลทุ่งสัง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล 3)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล ห้อง 1 ชายและหญิง อายุ 2-3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) ดำเนินการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง จำนวน 10 สัปดาห์ ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์สัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 45 นาที ระยะเวลาทั้งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล 2) หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล และ 3) แบบประเมินความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล โดยมีแบบแผนการทดลองใช้แบบ One Group Pre-test Post-test Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ(p) ค่าเฉลี่ย(x-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ร้อยละของความก้าวหน้า (Dp) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นเตรียมอนุบาล เท่ากับ 87.50/87.17
2. ความสามารถทางภาษา ด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลทุ่งสัง หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของความสามารถด้านการฟังและการพูด สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.7483 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดเพิ่มขึ้น 0.7483 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.83