การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร
ผู้วิจัย นางสาวสูใบดะ ทิ้งผอม
ปีทำวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบคือ (1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ (3) ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีชื่อว่า “SUBAIDAH Model” มีองค์ประกอบของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) S = Source and Spark by reviewing (การทบทวนความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในใจ เพื่อจุดประกายหลังการเรียนรู้ 2) U = Urge and Rush to Pay Variation (การเร้าความสนใจโดยเน้นการตั้งประเด็นปัญหาเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง) 3) B = Brainstorming for Exploration and Search ( การระดมสมองเพื่อร่วมกันค้นหาในประเด็นที่กำหนดให้ หรือนักเรียนร่วมกันกำหนดประเด็นขึ้นเอง) 4) A = Action Reseach and Affective Process for explanation and Imagination (อธิบายข้อมูลที่ได้ โดยกระตุ้นให้เกิดความคิด จินตนาการและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ) 5) I = ILLumination to elaboration phase (การอธิบายด้วยความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง โดยใช้ทักษะการคิดสร้างสรรค์ เพื่อขยายความรู้ตามความเข้าใจของตนเอง) 6) D = Discussing and Constructing Collaboratively and Deduction Method (อภิปราย สร้างความเข้าใจ การเชื่อมโยง เพื่อประเมินผล) 7) A = Applying and Serving Collaboratively (การร่วมด้วยช่วยกันเพื่อนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ หรือขั้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิต 8) H = Happy Presentation for Knowledge Sharing (การนำเสนอผลงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการแบ่งปันความรู้) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 81.88/82.48
2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร โดยใช้ SUBAIDAH Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านตัวครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก และด้านประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก