LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ

usericon


ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา”
ผู้วิจัย นายขวัญชาติ ศรีหารักษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร
จังหวัดสกลนคร
ปีที่วิจัย 2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครู
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 36 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 81 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบ ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัยพบว่า
    ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น (Analysis: Research1 (R1)) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และเพื่อศึกษาสภาพ และความ ต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบและการได้มาซึ่งองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 81 คน การดำเนินการประกอบด้วย 1) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ด้วยการสอบถามความคิดเห็นของครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) การปฏิรูปการศึกษาหลักสูตร การพัฒนารูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แนวคิดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กลิ๊กแมนและคณะ (Glickman and others) เลฮ์แมน (อ้างถึงใน ชัด บุญญา) ยุพิน ยืนยง และ วัชรา เล่าเรียนดี วชิรา เครือคำอ้าย กรมวิชาและคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ และสงัด อุทรานันท์ (อ้างถึงใน วรรณพร สุขอนันต์ 3) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้กระบวนการการคิดวิจารณญาณของครู สำหรับกลุ่มครู และนักเรียน เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ (Design and Development : Development1 (D1)) เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ในการกำหนดกรอบ แนวคิดของการพัฒนารูปแบบ และกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู ตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการ ตรวจสอบ ได้แก่ แบบประเมินโครงสร้างและองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมืออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ผู้ตรวจสอบร่างรูปแบบต้นแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศทางการศึกษา จำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด จำนวน 2 คน
    ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ (Implementation: Research2 (R2)) เป็นการนำ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 ไปทดลองใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดย 1) ประเมินความรู้และทักษะในการ จัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู ก่อน - หลัง และระหว่างได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อน- หลัง และระหว่างได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 3) ประเมินความพึงพอใจของครู ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังการทดลองใช้ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู หลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน การดำเนินการทดลอง ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) โดยประยุกต์การวิจัยแบบดุลยภาพเวลาและกลุ่ม ตัวอย่างของการทดลองต่อเนื่อง มีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (Equivalent time-samples pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบ สังเกต และแบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ทุกฉบับเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
    ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ (Evaluation: Development2 (D2)) เป็นการนำผลการทดลองรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ในขั้นตอนที่ 3 ทั้งที่เป็นผลที่ได้ จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบ ได้แก่ สมรรถนะการนิเทศของครูผู้นิเทศ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบรวมทั้งผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะนำไปใช้ต่อไป
    1. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพและ ประเมินความต้องการจำเป็น 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ 4) การ ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ดำเนินการโดยศึกษาทบทวนเอกสาร วรรณกรรม งานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากการสังเกต และการสนทนากลุ่มจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้บริหาร พบช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง ดังนี้ 1) ทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดหวัง 2) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง และ 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูไม่มี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ในขั้นของการศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการ จำเป็น มีการดำเนินการทบทวนหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักการ แนวคิดการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development หลักการ แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการออกแบบระบบ การสอน หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการนิเทศ การโค้ชทางปัญญา (Cognitive coaching) การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) การโค้ชแบบร่วมมือ (Collaborative Coaching) การติดตามดูแลแนะนำ (Mentoring) การสื่อสารทฤษฎีการ เปลี่ยนแปลง (Change Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (Intelligent Development) ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการจัดการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง ร่วมกับการทบทวน หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถระบุ เป้าหมายและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของผู้ที่ทำหน้าที่โค้ช 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 3) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน การออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน มีดังนี้
     1.1 การสังเคราะห์ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดแบบจำนวนลองการออกแบบการนิเทศตาม 1) รูปแบบ AIPDE Model ของ กลิ๊กแมนและคณะ (Glickman and others 2004 : 155-200) 2) รูปแบบ NMCASIE Model ของเลฮ์แมน (อ้างถึงใน ชัด บุญญา, 2538 : 46) 3) รูปแบบ CIPE Model ของ ยุพิน ยืนยง และ วัชรา เล่าเรียนดี (2554 : 202) 4) รูปแบบ PPIE Model ของ วชิรา เครือคำอ้าย (2553 : 147) 5) รูปแบบของกรมวิชาและคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ (2543 : 17) 6) รูปแบบ PIDRE Model ของ สงัด อุทรานันท์ (อ้างถึงใน วรรณพร สุขอนันต์, 2550 : 24-25) ร่วมกับแนวคิด การวิจัยและพัฒนา (research and development) สังเคราะห์เป็นขั้นตอนของการศึกษาเพื่อ พัฒนารูปแบบการนิเทศ 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น (Analysis: Research 1 (R1)) ขั้นตอนที่ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ (Design and Development : Development 1 (D1)) ขั้นตอนที่ 3) การทดลองใช้รูปแบบ (Implementation : Research 2 (R2)) 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ (Evaluation: Development 2 (D2))
     1.2 ผลของการออกแบบและพัฒนาได้ร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบ เชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ มีกระบวนการดำเนินการ 6 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need : N) ระยะที่ 2 การประเมิน ความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ระยะที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการ จัดการเรียนรู้ (Informing : I) ระยะที่ 4 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ระยะที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) และระยะที่ 6 การประเมินผลการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E)
     1.3 ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ค่าดัชนีความ สอดคล้องรายข้อของความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และความสอดคล้องของรูปแบบ รายข้อมีค่าระหว่าง 0.8 - 1.00
     1.4 การแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้นำคำแนะนำที่ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะเพิ่มเติม มาพิจารณาปรับปรุงรูปแบบโดยคงให้มีองค์ประกอบเชิง กระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปไว้ใช้ตามเดิม ปรับเพิ่มเฉพาะรายละเอียดเนื้อหาของการดำเนินการในบางหัวข้อย่อย ได้แก่ การปรับเพิ่มเติมโดยเน้นการร่วมกันปฏิบัติงานของ ผู้ทำหน้าที่นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้ติดตามดูแลในการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของหน่วยงานผู้ทำหน้าที่นิเทศ และผู้รับการนิเทศปฏิบัติงาน ร่วมกัน และเพิ่มเติมการจดบันทึกให้มีความครอบคลุมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนิเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการในการปฏิบัติการนิเทศมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
    2. ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
     2.1 การประเมินสมรรถนะการนิเทศรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผลการประเมินมี ดังนี้
     2.1.1 สมรรถนะรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการทดลอง พบว่าคะแนน เฉลี่ยความรู้และความสามารถในการใช้รูปแบบก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย โดยคะแนนเฉลี่ยของความรู้และ ความสามารถหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง ทั้งนี้ก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ครูผู้สอนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าเฉลี่ย 17.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.86 หลังการอบรมครูผู้สอนมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ย 25.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.87
     2.2 การประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน ผลการประเมินมีดังนี้
     2.2.1 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียน ก่อนและหลังทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และความสามารถในการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อน และหลังการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย คะแนนเต็ม 40 คะแนน คะแนนก่อนทดลองมีค่าเฉลี่ย ( = 22.86, S.D.= 2.39) หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย ( = 33.06, S.D.= 2.20)
     2.3 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย ( = 4.37, S.D.= 0.53) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศ ที่มีประโยชน์มากเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละระยะ และ ปฏิบัติได้จริง ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางานและองค์ความรู้ รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น รู้สึกมีกำลังใจ มีพลังที่จะปฏิบัติงานให้ เกิดผลสัมฤทธิ์ และเสนอแนะให้มีการนำรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
     2.4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมนักเรียนคิดว่าการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. =0.55) นอกจากนี้จากการบันทึกความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประมวลสรุปได้ ดังนี้ 1) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ 4) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน และ 5)เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จูงใจ รวมทั้ง การบันทึกถึงข้อจำนวนกัดและข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWWH ว่าเป็นเทคนิคการ จัดการเรียนรู้ที่แต่ละกิจกรรมต้องอาศัยเวลาสำหรับฝึกกระบวนการคิด ทั้งการคิดวิเคราะห์แยกแยะ ข้อมูลต่าง ๆ การแปลความ/การตีความข้อมูล การอธิบาย/การทำนาย และการลงข้อสรุป ต้องมีการ เชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีมาก่อนเข้ากับความรู้ที่กำลังเรียนรู้ทั้งจากรายวิชาหลักการและเทคนิคกาสอน เอง และจากรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องอาศัยการทำความเข้าใจ คิดทบทวน ไตร่ตรองอย่าง รอบคอบ ก่อนการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน
    3. ผลการปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์ ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 3 ของการวิจัยมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ โดยคงให้มีองค์ประกอบเชิง หลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขในการนำ รูปแบบไปใช้ไว้ตามเดิมปรับเพิ่มเฉพาะรายละเอียดเนื้อหาของการดำเนินการในบางหัวข้อย่อย ได้แก่ การปรับย้ายกิจกรรมการร่วมกันเลือกเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ จากระยะที่ 2 การวางแผนรูปแบบการนิเทศ มาไว้ระยะที่ 1 ระยะการเตรียมการ และ เพิ่มการเยี่ยมชมชั้นเรียนซึ่งกันและกัน รวมทั้งเพิ่มกิจกรรมการสรุปผลและเผยแพร่ความรู้ ในระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ ทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบการนิเทศมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ในการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบและกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย หลักการ: การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพของ นักเรียนให้บรรลุเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติงานจริง การทบทวนย้อนคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ร่วมงาน ซึ่งทำหน้าที่นิเทศที่ให้การส่งเสริมช่วยเหลืออย่างจริงใจและให้ความไว้วางใจต่อกัน นำไปสู่ การสร้างความรู้ใหม่และการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศ และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน องค์ประกอบเชิงกระบวนการ แบ่งการดำเนินการเป็น 6 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need : N) ระยะที่ 2 การประเมินความรู้และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ระยะที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Informing : I) ระยะที่ 4 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ระยะที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) ระยะที่ 6 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้มีเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1. ระบบสนับสนุน (Supporting System) ประกอบด้วยความเป็นเพื่อนร่วม วิชาชีพ (Collegiality) ความร่วมมือกัน (Collaboration) และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Trust) 2. ทักษะการโค้ช (Coaching Skills) ประกอบด้วยทักษะ 5 ประการ คือ การถอดความ (paraphrasing) การใช้คำถามเจาะหาความคิด (probe) การหยุดให้คิด (pause) การฟังอย่างตั้งใจ (attentive listening) และการให้สาระข้อมูลเพิ่มเติม (offering information) 3. การติดตามดูแล (Mentoring) เป็น การติดตามดูแลแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดระยะเวลาของกระบวนการนิเทศ เพื่อให้กระบวนการนิเทศดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^