LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศต

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา”
ผู้วิจัย     นายขวัญชาติ ศรีหารักษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร
จังหวัดสกลนคร
ปีที่วิจัย 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครูและสภาพการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” และเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 11 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 318 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัยพบว่า
    1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษ
ที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา”
1.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เอกสาร ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการชี้แนะและองค์ประกอบของรูปแบบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการชี้แนะ ดังนี้
1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักการแนวคิดการชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1) การชี้แนะการสอน (Instruction Coaching) เป็นวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนของครูโดยยึดหลักการความเป็นหุ้นส่วน (A Partnership Approach) ระหว่างผู้ชี้แนะและครูผู้รับการชี้แนะเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผู้ชี้แนะต้องมีทักษะในการสื่อสารให้ความเคารพความเป็นมืออาชีพของครูมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนและสะท้อนการทำงานของครูผู้รับการชี้แนะเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน 2) การชี้แนะที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Solution Focus Coaching) เป็นการชี้แนะที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานมองไปที่จุดแข็งและวิธีการปฏิบัติที่ได้ผลดีมากกว่ามุ่งไปที่ปัญหาหรือสิ่งที่ผิดพลาดเป็นการพัฒนาบุคลากรทีมงานและองค์กรนำไปสู่แนวทางการพัฒนาในเชิงบวก 3) การชี้แนะแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครูมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูตั้งแต่ 2 คนหรือมากกว่า 2 คนเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อการไตร่ตรองสะท้อนคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสังเกตการสอนกันและกันเกี่ยวกับเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครู ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนยึดหลักการที่สำคัญ คือ เพื่อนร่วมชี้แนะจะต้องเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งหรือสถานภาพใน ระเดียวกันความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกันมากสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ 4) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นการรวมตัวกันในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ระหว่างผู้ชี้แนะและครูผู้รับการชี้แนะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานการสอนในชั้นเรียนลดความโดดเดี่ยวในการทำงานสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่ดีจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ครูมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ 5) การสะท้อนผล (Reflection) เป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงค้นพบข้อบกพร่องของตนเองที่ควรปรับปรุงแก้ไขช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการบันทึกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ช่วยพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงาน
1.1.2 ผลการศึกษาทฤษฎีแนวคิดเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของรูปแบบจากนักวิชาการศึกษาประกอบด้วย Joyce, Weil and Calhoun (2011); Anderson (1997); Tripp and Bichelmeyer (1990); สมาน อัศวภูมิ (2550); ธีระ รุญเจริญ (2550); อวยชัย สุขณะล้ำ (2559); จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์ (2555); ธัญพร ชื่นกลิ่น (2553)
1.2 ผลการศึกษาสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” พบว่า ด้านการชี้แนะในการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีระดับปฏิบัติน้อยและด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีระดับปฏิบัติน้อย 2) ผลการศึกษาสภาพการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาพบว่า การพัฒนาครูในโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาโดยหน่วยงานต้นสังกัดไม่ตรงกับความต้องการของครูและครูต้องทิ้งการสอนกลับมาก็ขยายผลได้ไม่ชัดเจนหรือไม่ได้ขยายผล เนื่องจากภาระงานมากและไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาครูให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ควรเป็นลักษณะที่ครูได้พัฒนาจากการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนและนำสิ่งที่เป็นปัญหาจากการสอนในห้องเรียนมาแก้ไขปรับปรุงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 3) ผลการศึกษาแนวทางการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สรุปผลดังนี้ 1) ด้านการชี้แนะ พบว่าการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” โดยกระบวนการชี้แนะ ควรมีหลักการของการชี้แนะที่สำคัญ คือ ผู้ชี้แนะและครูผู้รับการชี้แนะต้องมีความเสมอภาคกัน ยอมรับความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยกระบวนการชี้แนะนั้น ต้องมีการเตรียมการก่อนการชี้แนะและการชี้แนะการจัดการเรียนรู้ต้องมีการสังเกตการสอนในชั้นเรียน มีการทบทวนการจัดการเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่ครูจะได้หาวิธีการแก้ปัญหาและที่สำคัญในกระบวนการชี้แนะจะต้องมีการสะท้อนผลจากการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะเป็น PLC และนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยความสำเร็จของการชี้แนะคือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนในกระบวนการชี้แนะและตัวครูเองจะต้องมีความเต็มใจสมัครใจมุ่งมั่นเพื่อที่จะพัฒนาในวิชาชีพของตนเองโดยมีผู้ชี้แนะที่จะต้องมีความรู้ทักษะในการชี้แนะ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า 1) ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างชัดเจนศึกษาหลักสูตรวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด 2) ครูต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเฉพาะการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ต้องมีความชัดเจนครอบคลุมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน 3) ครูต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเช่นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 4) ครูต้องสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้ 5) ครูต้องมีการจัดทำ PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้การสะท้อนผลการเรียนรู้
2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” สรุปผลได้ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” องค์ประกอบรูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ (Principle of Model) 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective of Model) 3. ขั้นตอนการชี้แนะ (Process of Coaching) ประกอบด้วย 3. 1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการชี้แนะ (Pre-Coaching) 3. 2) ขั้นการชี้แนะ (Coaching) 3. 3) ขั้นการทบทวน (Review) 3. 4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) 4. ปัจจัยสนับสนุน (Support System)
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบและเครื่องมือประกอบพบว่าผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายด้านทุกด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ย 4.00 ถึง 4.60 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อรวมทุกรายการโดยรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประกอบการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีความสอดคล้องทุกประเด็นโดยมีค่าความสอดคล้อง IOC ตั้งแต่ 0. 5 ขึ้นไปซึ่งอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้ได้
2.3 ผลการทดลองนำร่อง (Pilot) ก่อนนำไปใช้จริงดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มทดลองทั้ง 3 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนโดยภาพรวมก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ระดับน้อยและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 3) ผลการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนครูกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ดังนี้ ผลจากการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของครูผู้รับการชี้แนะสรุปผลได้ ดังนี้ 1) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 11 คน มีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการวางแผนทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะการสะท้อนผลและทักษะการเรียนรู้เป็นทีม: PLC สูงขึ้นทุกคน 2) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 11 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการสังเกตการสอนครูผู้รับการชี้แนะมีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นและผลการตรวจสอบรายการปฏิบัติทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 ทักษะ ครูผู้รับการชี้แนะ มีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากทุกคน 4) ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) พบว่า สิ่งที่ครูผู้รับการชี้แนะได้รับจากรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ การสะท้อนผลก่อนการจัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานและจากการเรียนรู้เป็นทีม: PLC นำมาปรับปรุงการเขียนแผนทุกครั้งทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 5) ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้เป็นทีม: PLC พบว่า การใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถส่งเสริมให้ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะในการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และทักษะในการทำงานเป็นทีม: PLC โดยมีผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
3. 1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 11 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
3. 2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 11
คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 และผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูผู้รับการชี้แนะ พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^