การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม (ส21205)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาเพิ่มเติม(ส 21205)เมืองเก่าลำพูนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม จังหวัด ลา พูน2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชนและสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ในชุมชนและสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม จังหวัดลำพูน4) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม ที่มีต่อรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ในชุมชนและสื่อผสม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาลสันป่ายางหน่อม จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยมีดังนี้ 1.รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชนและสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.แบบประเมินคุณภาพ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3.แผนการจัดการเรียนรู้ 4. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 5. แบบวัดความพึงพอใจ ผู้วิจัยนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)ไปใช้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม จังหวัดลำพูน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 และได้ประเมินประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ นา ไปใช้ มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ และมีการวัดความพึงพอใจของ นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาเพิ่มเติม(ส 21205) เมืองเก่าลำพูน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม จังหวัดลำพูนมีดังนี้คือด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้เอกสาร หนังสือและสื่อต่างๆที่ยังไม่ทันสมัย สื่อยังมีน้อยมากและ เด็กๆยังไม่ได้ซึมซับบรรยากาศจากสถานที่จริงเท่าที่ควร ทา ให้การปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้สึกรักและ หวงแหนโบราณสถาน โบราณวัตถุและประเพณีอันเก่าแก่ของเมืองลำพูนไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้แหล่ง เรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชนและสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PORNNICHA MODEL มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.52/86.45 3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205) เมืองเก่าลำพูนโดย ใช้แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในชุมชนและสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลสันป่า ยางหน่อม จังหวัดลำพูนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติม(ส21205)เมืองเก่าลำพูนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมในชุมชนและสื่อผสมอยู่ในระดับมากที่สุด