LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู

usericon

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึง
ประสงค์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ
3) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้วยวิธีการ
วิจัยแบบผสม โดยมีแหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการวิจัย และผู้บริหาร ครุและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนใน
สังกัดเทศบาลตำบลขามใหญ่ และสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้
จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 144 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย
แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ของรูปแบบการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การ
วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการ
จำเป็นโดยใช้การวิเคราะห์Modified Priority Needs Index (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กรอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียน 6 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการ
บริหารแบบทางการ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน รูปแบบการบริหารแบบการเมือง รูปแบบการ
บริหารแบบอัตวิสัย รูปแบบการบริหารแบบกำกวม และรูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม โดยใช้
องค์ประกอบในการจำแนกรูปแบบ คือ ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ กระบวนการกำหนด
เป้าประสงค์ ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ
ธรรมชาติของโครงสร้าง การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก แบบของภาวะผู้นำ และรูปแบบภาวะ
ผู้นำที่เกี่ยวข้อง 2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 6 ขั้นตอน คือ การสนับสนุนและ
แลกเปลี่ยนภาวะผู้นำ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม การกำหนดและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน การปฏิบัติงานแบบร่วมมือ การปฏิบัติที่มุ่งผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ของ
นักเรียนและครู และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนวิธีการปฏิบัติ 3) การวิจัยในชั้นเรียน (CAR ) ได้แก่
การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การประเมินเพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษานักเรียนที่มี
ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
2. สภาพปัจจุบันเป็นรูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน (f=137) ที่มีค่าความถี่ของสภาพ
ปัจจุบันสูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f=69) รูปแบบการบริหารแบบ
วัฒนธรรม (f=69) เท่ากัน รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f=41) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย
(f=12) และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f=6) ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์เป็นรูปแบบการบริหาร
แบบผู้ร่วมงาน (f = 128) ที่มีค่าความถี่ของสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการบริหาร
แบบวัฒนธรรม (f = 84) รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f = 65) รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f =
28) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย (f = 6)และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f = 4) ตามลำดับ
3. รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ
วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยในชั้นเรียน เป็นการบูรณาการ
รูปแบบการบริหารแบบกำกวมและแบบวัฒนธรรม” ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 7 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อ
รูปแบบ 2) หลักการ และความสำคัญ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 8
องค์ประกอบ คือ การกำหนดเป้าประสงค์ การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม โครงสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมโยงกับ
สภาพแวดล้อม แบบของผู้นำ และแบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง 5) แผนภาพของรูปแบบและการนำไปใช้
6) ปัจจัยความสำเร็จ และ 7) ประโยชน์ที่ได้รับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^