รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมเกมกลุ่มสัมพัน
เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี)
ผู้ศึกษา นางปราณี นามหาไชย ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประชาชื่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี) ตลอดการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประชาชื่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 14 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 20 แผน 20 เกม ได้แก่ เกมวิ่งเก็บลูกบอล เกมแข่งเรือ เกมกระโดดยาง เกมชักเย่อ เกมเตะลูกโป่ง เกมวิ่งวัว เกมปลากระโดดเข้าสุ่ม เกมกระโดดกบ เกมหมาไล่เป็ด เกมเสือกินวัว เกมปิดตาควานหา เกมตะล็อกต๊อกแต๊ก (ซื้อดอกไม้) เกมเทวดานั่งเมือง เกมสาลิกาป้อนเหยื่อ เกมตบแผละ เกมรีรีข้าวสาร เกมงูกินหาง เกมอีตัก เกมปลาหมอตกกระทะ และเกมจ้ำจี้ แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ความร่วมมือ และการช่วยเหลือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (Independent Sample t – test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองพบว่า เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 2 สัปดาห์ พบว่า พฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างหลังการทดลอง ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
3. ผลการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างที่พัฒนาขึ้นตลอดการทดลอง จากการวัดพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่วัดก่อนการทดลอง 2 ครั้ง วัดระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง และวัดหลังการทดลอง 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ตลอดการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมทางสังคมมีค่าต่ำสุดกว่าจุดอื่น ๆ (12.79) แล้วพัฒนาสูงขึ้นตามลำดับ (13.00,18.29,20.43,21.79,23.36,24.93 และ 25.21) จนเมื่อหลังการทดลองครั้งที่ 1 พบว่า เด็กกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมทางสังคมสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (24.93) ส่วนผลการวัดหลังการทดลองครั้งที่ 2 ซึ่งห่างจากการวัดหลังการทดลองครั้งที่ 1 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กได้พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน