ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม
ผู้วิจัย นางจุฑาทิพย์ ปลัดจ่า
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนมัธยมหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวนนักเรียน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม จำนวน 10 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญด้านชุดกิจกรรม และผู้บริหารโรงเรียน มีความเห็นว่า การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนนักเรียนเห็นว่า ควรลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก ใบงาน/ใบความรู้ควรมีภาพประกอบ และมีขนาดอักษรเหมาะสม
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.61/84.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
สำคัญ : ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, เศษส่วนและทศนิยม
Research Title Development of Mathematics-Learning Activity Set in a Unit of Fraction and Decimal for Mattayomsuksa One Students
Researcher Mrs. Chuthathio Paladcha
Mattayom Nongkhied School under Khonkaen Provincial Administrative Organization, Department of Local Administration, Ministry of Interior
Research Year Academic Year of B.E. 2562
Abstract
The objectives of this research were 1) to study basic information to develop mathematics-learning activity set in a unit of Fraction and Decimal for Mattayomsuksa one students, 2) to study the efficiency of activity set under 80/80 efficiency standard, 3) to compare the achievement results of using before and after class, and 4) to study the students’ satisfaction level towards the learning set. The sample group used in this research were 21 Mattayomsuksa 1/1 students of Mattayom Nongkhied School, Chumpare district, Khonkaen province under Khonkaen Provincial Administrative Organization, Department of Local Administration, Ministry of Interior, in the academic year of B.E. 2562, first term, and selected by using simple radon sampling. The statistical instruments in this research were 1) 10 mathematics-learning activity sets in a unit of Fraction and Decimal, 2) the achievement test that contained 30 questions, and 3) the questionnaire of students’ satisfaction towards mathematics-learning activity set. The statistics used for analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The results revealed that
1) Teachers, the experts of activity set, and school administrators’ opinion were that the activity set can help students to increase in mathematical skill, and students were able to learn by themselves. Students’ opinion were that the activity set should arrange from easy to difficult lessons orderly, and learning paper should have some pictures and suitable sizes of letters,
2) mathematics-learning activity set in a unit of Fraction and Decimal for Mattayom one students was efficient at 85.61/84.89 that was higher than 80/80 efficiency standard,
3) the achievement results after class was higher than the before class’s ones statistically significant at the level of .05, and
4) the satisfaction level of Mattayomsuksa one students towards the activity set was at high level.
Keywords: Learning Activity Set, Mathematical Process Skill, Fraction and Decimal
กิตติกรรมประกาศ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มนี้ สำเร็จได้ด้วยความกรุณาช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่กรุณาให้คำแนะนำปรึกษาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนช่วยกรุณาตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องเป็นอย่างดียิ่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เพื่อนร่วมงาน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีส่วนช่วยให้การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และครอบครัวที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ศึกษาวิจัยมาโดยตลอด จนกระทั่งทำให้การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลงได้ในที่สุด
จุฑาทิพย์ ปลัดจ่า
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
Abstract ……………………………………………………………………………………. ข
กิตติกรรมประกาศ ……………………………………………………………………………………. ง
สารบัญตาราง …………………………………………………………………………... ช
สารบัญภาพ ………………………………………………………………….. ซ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ……………………………………………………………... 1
คำถามของการวิจัย ……………………………………………………………... 4
วัตถุประสงค์การวิจัย ……………………………………………………………... 4
สมมติฐานการวิจัย ……………………………………………………………... 5
ขอบเขตของการวิจัย ……………………………………………………………... 5
นิยามศัพท์เฉพาะ ……………………………………………………………... 7
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ……………………………………………………………... 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ……………………………………………………………...
10
แนวคิดพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ……………………………………………………………... 18
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 21
การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 30
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ……………………………………………………………... 34
แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ ……………………………………………………………... 39
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ……………………………………………………………... 47
กรอบแนวคิดในการวิจัย ……………………………………………………………... 50
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 53
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 57
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 70
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 73
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 75
ตอนที่ 2 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 82
ตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 85
ตอนที่ 4 ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ……………………………………………………………... 87
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.
สรุปผลการวิจัย ……………………………………………………………... 92
อภิปรายผลการวิจัย ……………………………………………………………... 93
ข้อเสนอแนะ ……………………………………………………………... 97
บรรณานุกรม 99
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 105
ภาคผนวก ข ผลการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 125
ภาคผนวก ค ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 137
ภาคผนวก ง คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
145
ภาคผนวก จ ภาพประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 147
ภาคผนวก ฉ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 151
ภาคผนวก ช รายนามผู้เชี่ยวชาญและหนังสือตอบรับของผู้เชี่ยวชาญ 163
ภาคผนวก ซ ประวัติผู้เสนอผลงาน 170
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
2.1 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
14
2.2 การกำหนดหน่วยการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
16
3.1 แสดงความสอดคล้องระหว่างข้อสอบที่ต้องการกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 64
4.1 แสดงจำนวนและร้อยละเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ 78
4.2 แสดงจำนวนและร้อยละเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 80
4.3 แสดงจำนวนร้อยละเกี่ยวกับความต้องการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม
81
4.4 การจัดแบ่งหน่วยการเรียนรู้เพื่อจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
82
4.5 แสดงประสิทธิภาพ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบกลุ่มเดี่ยว (3 คน)
83
4.6 แสดงประสิทธิภาพ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบกลุ่มเล็ก (9 คน)
84
4.7 แสดงประสิทธิภาพ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบกลุ่มใหญ่ (30 คน)
85
4.8 แสดงค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียนและหลังเรียน ของกลุ่มตัวอย่าง
86
4.9 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าที (t-test) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
86
4.10 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วนและทศนิยม
87
4.11 ผลการเรียนรู้ที่ได้จากการทำชุดกิจกรรมในแต่ละชุด 88
4.12 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
89
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1 กรอบแนวคิดการวิจัย 50
2 กรอบการทำงาน 4 ขั้นตอน 52