รายงานผลการประเมินโครงการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ด้านการประเมินบริบท (Context ) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า ด้านการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับในภาพรวมของ ด้านบริบท (Context) ผลการประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อโดยเรียงลำดับดังนี้ คือโครงการนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน รองลงมาได้แก่ กำหนดงานจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ในฝ่าย/งานได้ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน สามารถใช้ในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่ได้คะแนนต่ำสุดได้แก่ โครงการนี้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาทุกระดับ
2. ด้านการประเมินปัจจัยป้อน (Input) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ในภาพรวมของ ด้านปัจจัยป้อน (Input) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุดทุกข้อ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีแผนการบริหารจัดการไว้อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน เฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ มีการส่งเสริมพัฒนาคณะครูในเรื่องเกี่ยวกับการวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลระหว่างการดำเนินงานเป็นระยะๆ อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนที่มีผลการประเมินต่ำสุด คือมีการวิเคราะห์ภารกิจและกำหนดแผนการจัดประสบการณ์ที่หน่วยงานต้องมีและต้องใช้ในหนึ่งปีการศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ด้านการประเมินกระบวนการ (Process) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินกระบวนการของโครงการ เกี่ยวกับในภาพรวมของ ด้านกระบวนการ (Process) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ทุกข้อ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีการกำหนดระยะเวลาการประเมินไว้ชัดเจน, มีครูรับผิดชอบเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการประเมินผลอย่างเป็นระบบ, มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง, มีแนวทางขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน, มีการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ทุกครั้ง, มีคณะครูที่เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการเพื่อให้บริการโดยเฉพาะ และมีการรวบรวมเอกสารสรุปการประเมินไว้เป็นหลักฐาน เฉลี่ยสูงสุด ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือมีการแจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลให้หน่วยงานทราบ ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ด้านการประเมินผลผลิต (Product) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับในภาพรวมของ ด้านผลผลิต (Product) ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าโรงเรียนมีโครงงานได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้, สรุปผลการประเมินนำไปใช้ในการรายงาน และสรุปผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ เฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการพัฒนาโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบ อยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ด้านผลกระทบของโครงการ (Impact) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินผลกระทบของโครงการ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริหารระดับเทศบาลต่อโรงเรียน, ความเชื่อมั่นของนักเรียนรุ่นน้องต่อพัฒนาการของเด็กทุกคนและผู้ปกครองให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความเชื่อมั่นของผู้ปกครองต่อและผู้ปกครองให้ความร่วมมือในกิจกรรมของโรงเรียน ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือชุมชนให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด
6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินประสิทธิผลของโครงการ เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านวิชาการของนักเรียนด้านการดำเนินงานที่คุ้มค่า และความพึงพอใจที่มีต่อผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมของ ด้านประสิทธิผลของโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจของผู้ปกครองที่แสดงต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานและมีความพร้อมในการที่จะเรียนต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความพร้อมด้านพัฒนาการของเด็กที่เรียนจบชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือเด็กมีทักษะกระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับ มากที่สุด
7. ด้านประเมินความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินความยั่งยืนของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการบูรณาการความรู้ ทักษะ และกระบวนการปฏิบัติของนักเรียน โดยในภาพรวมของ ด้านความยั่งยืนของโครงการ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุดทุกข้อ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพในการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงงาน เฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ครูความสามารถนำความรู้ทักษะกระบวนการปฏิบัติที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน, นักเรียนมีทักษะกระบวนการและความชำนาญในการปฏิบัติกิจกรรม และ ครูสามารถบูรณาการความรู้ ทักษะกระบวนการปฏิบัติไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด
8. ด้านประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ (Transportability) หลังการดำเนินโครงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าด้านการประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของนักเรียนในภาพรวมของ ด้านการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ พบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุดทุกรายข้อ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้ อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือครูสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนครูได้ อยู่ในระดับ มากที่สุด