LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ

การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม

usericon

    การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์จุดมุ่งหมายของการรายงานผลการดำเนินงาน 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้กลุ่มประชากรมาเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 2 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คน พนักงานครู 35 คน รวม 52 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินงานที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับฉลากจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 553 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 2 ส่วน จำนวน 605 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมี 2 ฉบับ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) มีค่าดัชนี ความสอดคล้องที่ระดับ 0.953 และ แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.947 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์เป็นรายแผนงาน จากข้อที่มีประสิทธิภาพมากไปหาข้อที่มีประสิทธิภาพน้อยตามลำดับ พบว่า แผนงานที่ดำเนินการมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ แผนงานบุคลากร รองลงมาคือ แผนงานธุรการ การเงินและพัสดุ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานวิชาการ แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน และที่มีประสิทธิภาพน้อยสุดคือ แผนงานกิจการนักเรียน ตามลำดับ
2. ความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่าความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมากที่สุด คือ แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน รองลงมาคือ แผนงานกิจการนักเรียน แผนงานวิชาการ แผนงานอาคารสถานที่ และแผนงานบุคลากร และความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ ตามลำดับ
3. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากการศึกษาแนวการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สรุปได้ว่าปัญหาที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จากการสนทนากลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงผู้ปกครองและชุมชนไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในแหล่งมลพิษทางเสียง งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการดูแลงานสารสนเทศ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^