พรรณนภา หาญบำราช. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศา
ผลการวิจัยพบว่า
1.การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาเรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดของ Joyce และWeil ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ1) ลำดับขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (Syntax) ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นตอนนำเข้าสู่บทเรียนเป็น ขั้นกระตุ้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมต่อการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา/ตั้งสมมติฐาน ขั้นดำเนินการค้นคว้า ขั้นสังเคราะห์ความรู้ ขั้นสรุปและประเมินหาคำตอบ และขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน 2) หลักการของปฏิสัมพันธ์ (Social System) ครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ แนะนำ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเกิดกระบวนการคิดหาคำตอบ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3) หลักการของการตอบสนอง ( Principles of Reaction) ครูจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้ท้าทาย มีสื่อประกอบที่เร้าใจกระตุ้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันภายในกลุ่ม เพื่อการค้นหาคำตอบ 4) ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (Support System) ครูจัดบรรยากาศของการเรียนรู้รอบๆตัวนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกอยากเรียนรู้หาคำตอบ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่พัฒนาตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางการเรียนทั้ง 3 ด้านของตนเองหลังเรียนเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยขึ้น ซึ่งก่อนเรียนเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อย
5. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีพฤติกรรมทางการเรียนในระหว่างเรียนดีขึ้น สังเกตจากความสนใจ ความกระตือรือร้นในการเรียน นักเรียนได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ มีโอกาสแสดงความคิดเห็น มีอิสระในการตัดสินใจ ในการตอบคำถามและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากการจดบันทึกสภาพการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า นักเรียนสามารถค้นคว้าหาคำตอบตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเอง โดยครูมีหน้าที่กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ สามารถวัดและประเมินผลนักเรียนตามสภาพจริง
6. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีระดับความคิดเห็นของจิตวิทยาศาสตร์ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับเห็นด้วย