การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์เพ็ญ จริงจิตร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองสุไหง-โกลก
จังหวัดนราธิวาส
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัยในด้าน 2.1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning 2.2) ความสามารถ ในการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning 2.3) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test การพัฒนาหลักสูตรมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำร่างชุดฝึกอบรม การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร
ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองตามหลัก Brain Based Learning อยู่ในระดับดี ความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก
Title Developing of teacher training package for designing learning
experience on brain development of early childhood children
Author Chanphen Chingchit
Deputy director, Tesaban 3 school (Wimuktayonwittaya),
Su-ngai Kolok Municipality, Narathiwat province
Academic Year 2019
Abstract
Developing of teacher the training package for designing learning experience on the brain development of early childhood children aimed 1) to create and develop the teacher training package for designing learning experience on brain-based learning of early childhood children, 2) to study the efficiency of the teacher training package for designing learning experience on brain-based learning of early childhood children into three aspects: 1) knowledge and understanding about learning management was consistent with brain development on brain-based learning, 2) the capabilities for designing learning experience on brain-based learning and 3) the satisfaction to the teacher training package for designing learning experience was consistent with brain development of early childhood children. The sample comprised 22 early childhood educators at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya), Su-ngai Kolok Municipality, Narathiwat province during the academic year of 2019. The instruments included four tools as follows: 1) the teacher training package for designing learning experience on brain development of early childhood children, 2) the evaluation form of the program relevancy and appropriateness, 3) the evaluation form on capabilities of the designing learning experience was consistent with brain development on brain-based learning and 4) the satisfactory evaluation form towards the teacher training package for designing learning experience was consistent with brain development of early childhood children. The statistical analysis being employed included the mean, standard deviation and t-test. Program development consisted of four steps as follows: studying the basic data of program development, making training package draft, testing and finding program efficiency and program evaluation and improvement. The instruments include 1) the teacher training package for designing learning experience on brain-based learning of early children.
The research findings were summarized into 3 issues as follows: 1) the teacher training package for designing learning experience consistent with brain development of early childhood children was the appropriate level at a high and the index of item-objective congruence was higher than defined criteria. 2) When considering the efficiency of the teacher training package for designing learning experience was consistent with brain development of early childhood children before and after training indicated that knowledge and understanding about learning management were consistent with brain development on brain-based learning after training was higher than before training at 0.5 level of significance. 3) the capabilities of the designing learning experience consistent with brain development on brain-based learning was at a high level. 4) The satisfaction of designing learning experience consistent with brain development on brain-based learning was at a high level.