LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิด
    ของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน     สำหรับโรงเรียน
    ในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ผู้วิจัย    นางศันสนีย์ เผ่าจินดา
    ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
    สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ปีที่วิจัย    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานของการนิเทศการศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
4.1 ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน 4.2 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 223 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการคิด ในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
1.1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริม การคิดในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จากการสอบถามความคิดเห็น ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการคิดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพการดําเนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมการคิดของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ในปัจจุบันมีผลการดําเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยการดําเนินงาน เรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การกําหนด เป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด การจัดทําหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ การคิด และการวัดและประเมินผลทักษะการคิด อยู่ในระดับปานกลาง
สําหรับความต้องการในการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายองค์ประกอบ พบว่า ความต้องการในแต่ละด้านเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การวัดและประเมินผล ทักษะการคิด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการคิด การกําหนดเป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด และการจัดทําหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการศึกษาปัญหา และความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริม การคิดในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) สรุปได้ดังนี้
1.2.1 ด้านการจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอกไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ ครูไม่ได้นํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ นอกห้องเรียนยังมีน้อย ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่เพียงพอ สถานที่จัดเก็บ รักษาไม่เพียงพอ ครูที่ รับผิดชอบในการจัดสื่อมีน้อยเกินไป สําหรับความต้องการ ได้แก่ การปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ให้มากขึ้น พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้ทันสมัยและส่งเสริมการใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการอบรมผลิตสื่อและ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอื่นที่เป็นต้นแบบ
1.2.2 ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูสอนโดยยึดกรอบเนื้อหาตาม หนังสือเรียน ขาดการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ครูไม่มีการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผลทักษะการคิด ที่เชื่อมโยงมาตรฐานภาระงานมีมาก ครูต้องทํางานอื่นนอกเหนือจากงานสอน นักเรียน บางส่วนมี เจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูเน้นการท่องจําสูตรต่าง ๆ การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเน้นเกี่ยวกับวิชาการมากเกินไป ครูขาดการนํารูปแบบการสอนมาใช้ ส่วนใหญ่ จะเน้นวิธีสอนและเทคนิคการสอน การบรรยายหรือการอภิปรายการยกตัวอย่าง สําหรับความต้องการ ได้แก่ การเพิ่มพูนประสบการณ์ของครู การจัดให้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
1.2.3 ปัญหาด้านการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดสรร งบประมาณไม่เพียงพอ ระบบการนิเทศภายในขาดความเข้มแข็ง โรงเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบเดิม ขาดความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายการเรียนรู้ สําหรับความต้องการ ได้แก่การพัฒนาระบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูล ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
1.2.4 ปัญหาเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาหลักของนักเรียนยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่มาตรฐานการศึกษากําหนด ขาดทักษะในการใช้ กระบวนการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ค่อนข้างน้อย นักเรียนไม่สามารถนําความรู้ที่เรียนชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ สําหรับความต้องการ ได้แก่ การส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ครูผู้สอนนําผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และมีดําเนินการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องเป็นระบบที่ชัดเจน
    2. รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1.การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและกำหนดประเด็นการพัฒนา (Analyzing Needs and Deciding Focus: A)
ระยะที่ 2.การเตรียมการด้านความรูและทักษะการปฏิบัติการนิเทศ (Preparing Knowledge and Skills for Coaching: P)
ระยะที่ 3.การร่วมมือกันวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา (Collaborative Planning and Setting Objective: C)
ระยะที่ 4.การปฏิบัติการนิเทศ (Coaching: C) ซึ่งประกอบด้วย
1) ทบทวนแผนการนิเทศและสร้างความเขาใจร่วมกัน (Review Action Plan and Reflection)
2) การสังเกตการสอนในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน (Observation)
3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4) การไตรตรองสะทอนคิดและใหขอมูลยอนกลับ (Reflection and Feedback)
ระยะที่ 5.การทบทวนไตรตรองสะทอนคิดและสรุปผล (Reflective Reviewing and Conclusions: R)
ระยะที่ 6.การประเมินผลการใชรูปแบบการนิเทศรวมกัน (Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation: E)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารมีความสามารถในการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก























Title    Developing the Supervision Model to Develop the Teachers’ Instructions for Enhancing Students’ Thinking Skill Using Professional Learning Community (PLC) Based for Schools under an Authority of Pattani Municipality, Pattani Province
Author    Sansanee Phaojinda        Position: Education Supervisor
    Level: Special Expertise, Education Division, Pattani Municipality, Pattani Province
Year of Study 2018

Abstract
        There were 2 main objectives in this research; 1) to study the conditions and basic information of educational supervision and learning instruction for enhancing thinking skill of school administrators under an authority of Pattani municipality 2) to construct the supervision model to develop organizing the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality 3) to implement the supervision model to develop organizing the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality 4) study the results from using supervision model to develop organizing the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality.
4.1 The administrators know and comprehend the process of supervision to develop organizing the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based 4.2 Teachers are satisfied towards the supervision model to develop organizing the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality. The samples comprised 8 school administrators and 223 teachers. The study is a form of research and development (R&D) using Mixed Method Research. The qualitative and quantitative data were selected using the developing model that the researcher had synthesized. There were 4 research steps as follow; Step1: Analyze the conditions and assess the needs, Step 2: Designing and develop the model, Step 3: Implementing the model and
Step 4: Assessing and improving the model. The researcher concluded the research hypothesis and methodology as follow;
        The research findings reveal that;
1.    The results of investigating the present conditions, problems and needs of thinking skill in schools under an authority of Pattani municipality.
1.1    The study of present conditions and needs in developing and enhancing thinking skill in schools under an authority of Pattani municipality, according to an interview from whom involved in developing thinking skill in schools, the work process of enhancing think skill in schools under an authority of Pattani municipality reveals the overall results at ‘Much’ level. Analyzing by each aspect found that, the mean of work process ranking from maximum to minimum is as follow; organizing the learning atmosphere to motivate thinking skill, determining the target of developing thinking skill, designing integrated curriculum to motivate thinking skill is at ‘Much’ level. Organizing the learning activities to develop thinking skill, organizing supplementary learning activities to develop thinking skill and the measurement and assessment of thinking skill is at ‘Moderate’ level.
According to the needs of developing, wholly is at ‘Much’ level. The results of analyzing each aspect reveal that the needs of each aspect ranking from maximum to minimum are as follow; the measurement and assessment of thinking skill and organizing the learning activities to develop thinking skill is at ‘Most’ level. Organizing the learning atmosphere to motivate thinking skill, organizing supplementary learning activities to develop thinking skill, determining the target of developing thinking skill, designing integrated curriculum to motivate thinking skill is at ‘Much’ level.
1.2    The results of investigating problems and needs of the development of enhancing thinking skill in schools under an authority of Pattani municipality using the focused groups are as follow;
1.2.1    The aspect of media and learning sources; both the internal and external media and learning sources are insufficient with low quality. Teachers rarely adopt them to use in the learning instructions, less external learning supplementary activities, insufficient laboratories with less storage. Numbers of teachers who response for managing media are not enough. The aspect of needs, the schools should improve the learning sources, develop the media and learning sources to be up to date and promote using them progressively. The teachers should be trained to construct the media and participate in the field trip study at other schools as the model.
1.2.2    The aspect of organizing the learning; the teachers just follow the scope of the content in textbook and lack of promoting critical thinking and synthesizing. Teachers never do the research to develop the students’ learning process. They lack the knowledge of the measurement and assessment on thinking skill. Teachers are workload that they have to response for other duty, not only teaching. Some students have negative opinion to learning. The atmosphere does not promote learning, teachers focus more on remembering the formulas, some supplementary subjects focus too much on academic aspect, teachers lack of implementing teaching models that most of the focus on lecture. For the needs, they need to gain more teaching experience and field trip study outside the schools.
1.2.3    The aspect of promoting the learning instructions; Supplying budget is insufficient; the internal supervision is not good enough. The schools still use the old learning teaching instructions and lack of the learning networking. For the needs, they need the efficient internal supervision to develop the learning teaching activities systematically.
1.2.4    The aspect of results of organizing learning; the students’ learning achievements of the main subjects cannot reach the goal of the defined standard education. Students lack of the process of problem solving skill, critical thinking ability, synthesizing skill. Students are not able to apply their knowledge to use in their daily lives. For the needs, they need to promote and motivate teachers adopt the experience of organizing learning activities into classrooms efficiently and develop the learning activities systematically and continually.
2.    The supervision model to develop organizing the learning of teachers for enhancing students’ thinking skill using Professional Learning Community (PLC) based contain 6 steps as follow;
Step 1: Analyzing Needs and Deciding Focus: A
Step 2: Preparing Knowledge and Skills for Coaching: P
Step 3: Collaborative Planning and Setting Objective: C
Step 4: Coaching: C
1)    Review Action Plan and Reflection
2)    Observation
3)    Data Analysis
4)    Reflection and Feedback
Step 5: Reflective Reviewing and Conclusions: R
Step 6: Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation: E
3.    The results of implementing the supervision model to develop the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality reveal that; teachers have the level of difference of knowledge about the supervision between ‘before’ and ‘after’ using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality at the .05 of significance.
4.    The results of implementing the supervision model to develop the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality reveal that; the school administrators have the level if difference of knowledge about the supervision to develop organizing the learning of teachers for enhancing students’ thinking skill using Professional Learning Community (PLC) based at .05 of significance. The school administrators are able to supervise to develop the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based, after participating the workshop is higher than before. Teachers are satisfied towards the supervision model to develop the learning instructions of teachers for enhancing students’ thinking skills using Professional Learning Community (PLC) based in schools under an authority of Pattani municipality, the level of satisfaction is at ‘Much’ level.


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^