การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู
ภาษาไทยในสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย นายสุทธิพันธ์ โสภณสุขกุล
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูกลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรูของครูกลุ่มสาระ การเรียนรูภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรูของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัด เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก และ 3) ประเมินผลการใชรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยใชวิธีการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใชในการวิจัย คือ ครูในสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 27 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รวมจำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ประเภท คือ 1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับการนิเทศ 2) แบบประเมินความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 4) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย และ 5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองสุไหงโก-ลก โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ และด้านบุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ และ(ส่วน)สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยรวมมีสภาพที่พึงประสงคอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ
ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ด้านบุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ และด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ สวนผลการศึกษาแนวทางการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประกอบด้วย การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analyzing : A) การวางแผนการนิเทศ (Planning : P) การสร้างความตระหนักรู้ (Awareness raising : A) การปฏิบัติ (Doing : D) และ ประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบวารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีองค์ประกอบหลัก 7 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบใช้หลักการกัลยาณมิตรหลักการมนุษยสัมพันธ์หลักการมีส่วนร่วม หลักการทำงานเป็นทีม หลักการแบ่งปัน หลักการบูรณาการและต่อเนื่อง องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบเพื่อพัฒนาผู้บริหารและครูผู้นิเทศภายในให้มีความรู้ความเข้าใจ นำรูปแบบไปใช้ในการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการ จัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ครูผู้รับการนิเทศนำผลที่ไดจากการดำเนินการตามรูปแบบไปใช้ในการ พัฒนาสมรรถนะทั้ง 4 ด้าน และเพื่อให้ครูผู้รับการนิเทศนำผลที่ไดจากการดำเนินการตามรูปแบบไป ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่ 3 กลไกการดำเนินงาน ระดับกระทรวง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับโรงเรียน และระดับหองเรียน องค์ประกอบที่ 4 เนื้อหาการนิเทศภายใน ประกอบด้วยการจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อเทคโนโลยีการวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการนิเทศภายใน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ และขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ องค์ประกอบที่ 6 การประเมินรูปแบบ โดยการความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ พฤติกรรมการสอน ความพึงพอใจ และความคิดเห็น และองค์ประกอบที่ 7 เงื่อนไขความสำเร็จของการนำรูปแบบไปใช้ ไดแก กำหนดนโยบายและแผนการนิเทศที่ชัดเจนเหมาะสม ครูผู้นิเทศมีวามมั่นใจในการดำเนินการนิเทศภายใน ครูผู้รับการนิเทศมีเทคนิคการสอนที่มี ประสิทธิภาพ มีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ และการประเมินผลและนำผลมา ปรับปรุงการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบวา 1) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับการนิเทศในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้สูงกว่าก่อนไดรับการนิเทศภายใน 2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ผู้รับการนิเทศ หลังไดรับการนิเทศภายในมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนไดรับการนิเทศภายใน และครูผู้รับการนิเทศมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ไดแก ด้านทักษะการจัดการเรียน รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยี และด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศภายในเพื่อพัฒนา สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยรวมอยู่ในระดับความ คิดเห็นมากที่สุด