การพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์เพ็ญ จริงจิตร
โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย การพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 3) พัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมือง สุไหงโก-ลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหาร โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 33 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI (Modified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบทั้งหมด 3 องค์ประกอบ 9 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) ความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์ มี 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ มี 3 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 3) การวัดและประเมินผลด้านการ คิดวิเคราะห์ 2 ตัวชี้วัด
2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สภาพที่พึงระสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน สำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
3. ผลการพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า รูปแบบพัฒนาครูด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ด้านความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Title A Developing Educators’ Competency Development Model on
Learning Management for Enhancing Students’ Critical Thinking
at Tessaban 3 School (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok
Municipality
Author Chanphen Chingchit
Deputy director, Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya),
Su-ngai Kolok Municipality, Narathiwat province
Academic Year 2018
Abstract
The purposes of this research were 1) to investigate components and indicators of developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality. 2) To investigate the current condition and the desired condition for developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality. 3) To develop educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality. The research was divided into 3 phases. The first phase was to investigate components and indicators of developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking. The appropriateness of components and indicators were determined by the 5 experts. Similarly, the relevancy of research instrument was determined by the 5 experts. The second phase was to investigate the current condition and the desired condition for developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya)under Su-ngai Kolok Municipality. The sample included 33 educators and administrators at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality was conducted with a purposive sampling method. The research instrument used in study was third phase questionnaire named a developing of educator training package for enhancing students’ critical thinking at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality. The questionnaire was evaluated appropriateness and feasibility of training package by the 5 experts with a purposive sampling method. An analysis has been completed by Index of Item-Objective Congruence (IOC) percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNI Modified).
The result revealed that
1. The components and indicators of developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking comprised of 3 components and 9 indicators. The first components, knowledge and understanding on critical thinking had 4 indicators. The second component, learning management skill for critical thinking development had 3 indicators. The third components, measurement and evaluation on critical thinking had 2 indicators.
2. The current condition for developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality, the overall was at average level. When considering each aspect found that all aspects were at an average level. The desired condition for developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality, the overall was at a highest level. When considering each aspect found that all aspects were at the highest level.
3. The result of developing educators’ competency on learning management for enhancing students’ critical thinking at at Tessaban 3 school (Wimuktayonwittaya) under Su-ngai Kolok Municipality revealed that the appropriateness was at
a high level and the feasibility was at the highest level.