LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
    เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า
ผู้วิจัย    นางสาววาสนา แก้วจันทร์เพ็ง ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
    โรงเรียนเทศบาลคำตากล้า สังกัดเทศบาลตำบลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา    2562

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า 4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า จํานวน 18 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90
แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของครูผู้สอน มีค่า IOC 1.00 ทุกข้อ
แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้ามีค่าอำนาจจำแนก 0.26 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) บุคคล 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้องค์ประกอบหลักที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ครูมีความสามารถในพัฒนาหลักสูตร 2) ครูมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ครูมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี 5) ครูมีความสามารถในการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักที่ 4 ผลลัพธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า
2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ องค์ประกอบหลักที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การรายงานผล 2) ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้าที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย 1) การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ผลการประเมินมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า เป็นดังนี้
4.1 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ครูมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลคำตากล้า อยู่ในระดับมากที่สุด












TITLE     Development of the Teachers’ Development Form Using the Community-based Professional Learning Idea for the Literacy of the Pupils at TessabankhamtaKla School
RESEARCHER     Ms. Wassana Kaewjunpheng
Director of the TessabankhamtaKla School, Sakon Nakhon
YEAR         2019

            ABSTRACT

The purposes of this study were 1) to investigate the main components and minor factors of the form on the teachers’ development using the community-based professional learning idea for the pupils’ literacy at Tessabankhamtakla School, 2) to explore the current states and the desired states based on the community-based professional learning idea for the pupils’ literacy at the School, 3) to develop the form of the teachers’ development using the community-based professional learning idea for the pupils’ literacy, 4) to evaluate the application of the form on the teachers’ development using the community-based professional learning idea. Samples employed included 18 teachers at the School .The instruments applied were composed of a form of knowledge tesy in learning application for literacy with the whole reliability of 0.90ma form of behavioral observation on learning activity for literacy of the teachers with IOC of 1.00 in every item, a form of ability evaluation on literacy management with IOC at 0.80 - 1.00 as well as a set of questionnaires of the satisfaction of the teachers’ development using the community-based professional learning for the pupils’ literacy with Discrimination Index of 0.20-0.93 and reliability of 0.93. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, and PNI Modified.
The findings of this study were as follows:
1.    The components of the form of the teachers’ development using the community-based professional learning idea among the pupils at the School consisted of 5 key components as follows: Main component 1 - Input comprising the following minor components: 1) Personnel, 2) Budget, 3) Materials; Main component 2 - Process consisting of following minor components-1) Preparation for professional learning for literacy, 2) Application of learning management using the community - based professional learning idea for literacy; Main component 3 - Output including following minor components - 1) teachers with ability on curriculum development, 2) Teachers with ability on learning management design, 3) Teachers with ability on learning activity management, 4) Teachers with ability on technological media application, 5) Teachers with evaluation of learning activity management; 4) Main component0 including following minor components; 1) School administrator and teachers gaining satisfaction toward the form of the teachers’ development using the community-based professional learning idea for literacy among the pupils at the School.
2.    The current states in developing the teachers using the community-based professional learning idea for the pupils’ literacy at the School were at the moderate level in general and the desired states were at the highest degree in general.
3.    The form of the teachers’ development using the community-based professional learning idea at the School included 3 minor components as follows: Preparation on the learning management using the community-based professional learning idea for literacy,2) Application of learning management using the community-based professional learning idea,3) Evaluation of the application using the community-based professional learning idea for literacy. The results of the evaluation revealed that they were appropriate. The feasibility and profitability were at the highest degree.
4.    The results of the use of the form of the teachers’ development applying the community-based professional learning idea for the pupils’ literacy at the School were as follows:
4.1    The teachers gained ability in learning management at the high level in general.
4.2    The teachers obtained satisfaction by employing the form of the teachers’ development using the community-based professional based professional learning idea for literacy among the pupils at Tessabankhamtakla School at the highest degree.






ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^