การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ
ผู้วิจัย นางสาววาสนา แก้วจันทร์เพ็ง ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ เทศบาลตำบลดงมะไฟ จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัดการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ 4. เพื่อศึกษาผลการนํารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ ไปใช้การดําเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบตัวชี้วัดและศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการสร้างและการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบล ดงมะไฟ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ ระยะที่ 4 ศึกษาผลการนํารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัยไปใช้ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค Modified Priority Needs Index (PNlModified)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพปัจจุบันการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เป้าหมายของรูปแบบ 4) เนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาของรูปแบบ ประกอบด้วย 6 Module คือ 4.1) การกําหนดจุดมุ่งหมายการจัดประสบการณ์ 4.2) การพิจารณาความพร้อมของเด็กปฐมวัย 4.3) การกําหนดเนื้อหา 4.4) การจัดกิจกรรมประสบการณ์ 4.5) การประเมินผล และ 4.6) ข้อมูลป้อนกลับ ใช้ระยะเวลา 118 ชั่วโมง วิธีการพัฒนา ได้แก่ การอบรม และการพัฒนาตนเองโดยดําเนินการพัฒนา 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การพัฒนา ขั้นที่ 3 การบูรณาการระหว่างปฏิบัติงาน และขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา และ 5) การประเมินผลรูปแบบ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟ พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาหลังใช้การจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาลตำบลดงมะไฟสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
TITLE Development on a Form on the Teachers’ Potential Development
Based on Learning Experience Management to Promote the Pre-school Children‘s Language Skills at Tessabantambondongmafai School.
RESEARCHER Ms. Wassana Kaewjunpheng
Director of the Tessabantambondongmafai School.
YEAR 2018
Abstract
This study aimed 1) to investigate components ,indicators on the teachers’ development regarding learning experience to promote the pre-school children’s language skills at Tessabantambondongmafai School, 2) to develop the form of the teachers’ potentiality on managing the learning experience to promote the children’s language skills at the School.3) to experiment the application of the form of the teachers’ development on the learning management to promote the children’s language skills at the School,4) to explore the results of application on the form of the teachers’ potential development to promote the children’s language skills at the School. The study applied the R&D procedure consisting of 4 phases: PHASE 1- Investigation of indicators as well as current states, desired states of the teachers of the pre-school level in managing the language skills of the children confirmed by the scholars at the School; PHASE 2- Exploration of results on the creatyion and development of the form of the teachers’ competency based on the children’s language skills at the School; PHASE 3- Investigation of the experiment of the form of the teachers’ development in managing the children’s language skills at the School; PHASE 4- Exploration of the application on the form of the teachers’ potentiality development regarding the preparation of readiness on the language skills to be applied. Tools used included percentage, standard deviation and Modified Priority Needs Index.
The findings of this study were:
1. The components of the teachers’ competency development in managing learning experience to promote the pre0school children’s language skills at the School consisted of components, 24 indicators confirmed by the scholars were at the highest level. The current states of the form of the teachers’ potential development on the learning experience management to promote the ore-school children’s language skills at the School were at the highest degree.
2. The form of the teachers’ competency development on the management of ;earning management to promote developed was composed of 1) Principle of the form, 2) Objectives of the form, 3) Target ,contents and activities of the form including 6 modules; 4.1 ) Designation of the target of application, 4.2) Consideration of the children’ readiness,4.3) The designation of contents, 4.4) The experience application, 4.5) Evaluation, and 4.6) The feedback of data. The period of time used covered 118 hours. The development methods included training, self-development using 4 stages: 1) Evaluation before the experiment, 2) Development, 3) Integration during the application, 4) Evaluation after the development, and 5) Outcome of evaluation. The evaluation by the scholars revealed that profitability, feasibility and suitability, in general, were at the highest degree.
3. The results of the form experiment on the teachers’ potentiality development in managing learning experience to promote the children’s language skills at the School found that the children obtained higher language skills at the .01 level of significance. This showed that the learning application based on the teachers’ potential development to promote the language skills of the children at the School was higher than that of before the learning at the .01 level of significance passing the criteria set.