LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย     : นางสาวณัฐนันท์ เนตรทิพย์
สถานศึกษา : โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร เทศบาลเมืองน่าน (บ้านพระเนตร)

บทคัดย่อ
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร เทศบาลเมืองน่าน (บ้านพระเนตร) อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยพบว่า
1.    ภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่าครูผู้สอนยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ไม่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการสอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ครูผู้สอนใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนน้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ เก่าและขาดคุณภาพ ครูขาดการบูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ขาดทักษะและความสามารถด้านการแก้ปัญหา ไม่กระตือรือร้นในการเรียนรู้
2.    รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “STARTS Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจและระบุปัญหา (S: Survey and Identify problem) 2) การรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี (T: Technology for gather information) 3) การกำหนดและออกแบบโครงงาน (A: Assign and design) 4) การลงมือปฏิบัติและปรับปรุงโครงงาน (R: Review and improve) 5) การนำเสนอถ่ายทอดความรู้ (T: Transmission approach) 6) สรุปและประเมินผลโครงงาน (S: Summary and evaluation) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสอดคล้อง (IOC = 1.00) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07 /82.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า (1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4.    นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย=4.52 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.50) ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( ค่าเฉลี่ย=4.54 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51)





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^