LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง

การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑
(บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ผู้ศึกษา    สุจิตรา หมื่นพวงศ์
ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) และ 2) เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ดำเนินการประเมินโครงการตามแบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) ที่มุ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) แบ่งเป็น การประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และการประเมิน ผลกระทบ (Impact Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ ตอนที่ 1 การประเมินโครงการ ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน และคณะครู จำนวน 12 คน ในปีการศึกษา 2562 ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 2 การหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ในปีการศึกษา 2562 ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบท (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) และฉบับที่ 5 แบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) จำแนกตามลักษณะการประเมิน ดังนี้
1.1 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในขณะที่ด้านผลที่คาดหวังของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน ส่งผลต่อนักเรียน โดยสามารถปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
1.2 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่ด้านมีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
1.3 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีการประชุมวางแผน การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่ด้านกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
1.4 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนแสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งด้านการประเมินผลการดำเนินงาน (Output Evaluation) และด้านการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถปฏิบัติได้จริง ในขณะที่ด้านการประเมินผลกระทบ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนรู้จักประหยัด อดออม และใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น
1.5 ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พบว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเท่าที่ควร เนื่องจากทั้งผู้ปกครองและนักเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญและยังขาดความตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี โดยนักเรียนจะปฏิบัติเฉพาะตอนอยู่ที่โรงเรียน แต่ไม่ปฏิบัติเมื่ออยู่ที่บ้าน ดังนั้นการปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนจึงต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรมีการประชุมผู้ปกครองเป็นระยะเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ และควรมีการจัดทำแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ บุคลากรในการจัดทำโครงการมีจำกัด จึงควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม และควรมีการเชิญวิทยากรภายนอกมาร่วมจัดกิจกรรม ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียน ด้านการวางแผน การดำเนินงาน ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อการดำเนินโครงการเพิ่มเติม ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกโรงเรียน ซึ่งครูและผู้บริหารต้องติดตามการดำเนินงานโครงการเป็นระยะเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความตระหนักอย่างสม่ำเสมอ
ตอนที่ 2 ผลการหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านกาแป๊ะ) เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัด ยะลา พบว่า โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน ที่จัดขึ้นเป็นโครงการ
ที่สนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ สนองต่อการดำเนินงานตามเอกลักษณ์ของโรงเรียน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาล แผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนให้โครงการเกิดความสำเร็จ คือ มีการปลูกจิตสำนึกให้ครูและบุคลากรเห็นคุณค่าของค่านิยมหลัก 12 ประการ เพื่อจูงใจให้เกิดการทุ่มเท เสียสละในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการ ตลอดจนประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและเป้าหมายของการดำเนินงาน สร้างความตระหนักแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยการดำเนินงานโครงการ คำนึงถึงสภาพบริบทของพื้นที่และสภาพแวดล้อมรอบตัวนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถวางแนวทางในการส่งเสริมได้ตรงกับคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ปลูกฝังให้นักเรียนเห็นความสำคัญและตระหนักในการนำไปใช้ในชีวิตจริง ส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง อีกทั้งได้รับความร่วมมือทั้งจากคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี จึงทำให้การจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีของนักเรียน เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย นอกจากนี้ จากผลการประเมินโครงการ สามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ได้ดังนี้
2.1 ด้านบริบท (Context Evaluation : C) โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียน ตอบสนองต่อความต้องการของสภาพพื้นที่ ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์มีความชัดเจน แก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) มีความเหมาะสมเพียงพอทั้งด้านวัสดุ
อุปกรณ์ ระยะเวลา และงบประมาณ แม้ว่าด้านบุคลากรจะมีจำกัด แต่มีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม และมีการเชิญวิทยากรภายนอกร่วมบรรยายให้ความรู้
2.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) กระบวนการดำเนินงานโครงการ
มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมการก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง มีการประเมินสรุปผลการดำเนินงาน และมีการนิเทศติดตามงานอย่างเป็นระบบ โดยนำผลที่ได้ มาปรับปรุงการดำเนินงานเป็นระยะ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
2.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ด้านผลการดำเนินงานตามโครงการ นักเรียนมีพฤติกรรมปฏิบัติตนตามค่านิยมหลัก 12 ประการ เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ในขณะที่ด้านผลกระทบจากโครงการ ส่งผลให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^