รายงานการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทยฯ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ผู้รายงาน นายผดุงเกียรติ รักษ์วรโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2
2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทยขอนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 109 โรงเรียน นักเรียนระดับประถมศึกษา
จำนวน 8,249 คน เครื่องมือในการประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 - 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใช้วัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
1. แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่าน การเขียนเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 มี 4 ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 วางแผน การดำเนินงาน (Plan : P) เป็นขั้นตอนการร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับสถานศึกษา กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการอ่าน การเขียน เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้เต็มตามศักยภาพ มุ่งสู่คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติการ
ตามแผน (Act : A) คือ มีการทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) คณะทำงานระดับ เขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานระดับสถานศึกษา มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้ครูนำสื่อนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนอย่างจริงจัง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล (Evaluate : E) มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ แบบกัลยาณมิตร ร่วมแรงร่วมใจเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการพัฒนาแก้ไขปัญหาการอ่าน การเขียนที่เป็นข้อมูลตามสภาพจริง เชิงระบบที่สามารถตรวจสอบและรับรองข้อมูลได้จริง นำไปสู่ผลสำเร็จและการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ขั้นตอนที่ 4 เสริมแรง (Reinforce : R) คือร่วมกันชื่นชมผลงาน ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ สนับสนุนส่งเสริมการสร้างขวัญกำลังใจผู้ที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนที่ประสบผลสำเร็จ
เป็นผลงานที่ได้ร่วมกันดำเนินงานมาทั้งระบบให้เป็นที่ชื่นชมอย่างเต็มความภาคภูมิและยั่งยืนต่อไป
2. ผลการพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน การเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 พบว่า ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (National Test : NT) ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ด้านภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 4.19 ได้ลำดับที่ 2 ของระดับจังหวัดและระดับศึกษาธิการภาค 15 ด้านคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 8.47 และในภาพรวม 2 ด้านคิดเป็นร้อยละ 6.33 ได้ลำดับที่ 1 ของระดับจังหวัดและระดับศึกษาธิการภาค ได้ลำดับที่ 14 ของระดับสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 รายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนระดับประเทศ คิดเป็นร้อยละ 2.10
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียน
1.1 ส่งเสริมให้โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมแห่งการอ่าน การเขียนภาษาไทย
1.1.1 ทักษะพื้นฐาน โดยเน้นการอ่านออก เขียนได้ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
1.1.2 การสร้างนวัตกรรม การออกแบบการฝึกทักษะการอ่าน การเขียนที่หลากหลายน่าสนใจให้เกิด
ความสนุก มุ่งมั่น ใฝ่เรียน ใฝ่รู้
1.2 ส่งเสริมให้โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบ
1.2.1 พัฒนาคุณภาพด้านทักษะการอ่าน การเขียน ใหมีมาตรฐานอย่างยั่งยืน
1.2.2 การกำกับ ติดตามความก้าวหน้าผลการปฏิบัติงานของนักเรียน และโรงเรียน เพื่อจัดทำเป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและยั่งยืน
2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อเนื่องที่สำคัญต่อไป
2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่าน
การเขียนภาษาไทยของนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ต่อเนื่องและยั่งยืน
2.2 ควรส่งเสริมให้โรงเรียนสร้างชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) ด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทยและใช้ทรัพยากรทางวิชาการและการบริหารจัดการร่วมกัน
2.3 ส่งเสริมให้โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สร้างเครือข่ายและเป็นศูนย์พัฒนาการอ่าน
การเขียนเฉพาะด้าน มีเวทีในการนำเสนอผลงานในเวทีระดับที่สูงขึ้น