LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผล

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์                    ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าน่าสนุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย            นางโสรัจจ์ แสนคำ
ปีการศึกษา    2562


บทคัดย่อ

            การจัดกิจกรรมการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะต้องอาศัยเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเนื่องจากธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์นอกจากความรู้ ความเข้าใจแล้วสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือทักษะการปฏิบัติที่ต้องทำกิจกรรมแบบกลุ่ม ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะสามารถพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน มุ่งหวังให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้และผลการเรียนให้สูงขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าน่าสนุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดย
การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากนักเรียน
2 ห้องเรียน แล้วทำการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จากนั้นกำหนดนักเรียนเข้ากลุ่มแบบคละความสามารถ เก่ง : ปานกลาง : อ่อน โดยในแต่ละกลุ่มย่อยมีจำนวน 5-6 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1 : 2 : 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT จำนวน 5 แผน ทำการสอน 11 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
ไฟฟ้าน่าสนุก ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.43 - 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.20 – 0.53 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.768 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าของลิเคิร์ท (Likert’s Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น
ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.821 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน( Wilcoxon Signed Ranks Test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
        1. ประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT เท่ากับ 81.89/81.72 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    โดยสรุป นักเรียนที่เรียนด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์นำกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือนี้ ไปใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ต่อไป


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^