การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น
โดยใช้โครงงานเป็นฐานส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวฐิติมาภรณ์ โชคสัมฤทธิ์ผล
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐานส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ อปท. เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 E1/ E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สถิติ t – test for dependent samples 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/ E2 เท่ากับ 84.20/82.00 2) จิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและพัฒนาสิ่งกวดล้อมก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สถิติ t – test for dependent samples หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นวารินชำราบ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ส่งเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวม x-bar = 4.45 , S.D. = 0.52 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผู้สอน x-bar = 4.49 , S.D. = 0.49 2. ด้านการจัดการเรียนรู้ x-bar = 4.41, S.D. = 0.51 3. ด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ x-bar = 4.44 , S.D. = 0.55 4. ด้านการวัดและประเมินผล x-bar = 4.45 , S.D. = 0.58 5. ด้านประโยชน์ที่ได้รับ x-bar = 4.45 , S.D. = 0.46 ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก