LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการ

usericon

ชื่อเรื่อง             การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมี
            วิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้น
            มัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย          นางสาวอมรรัตน์ มัชปะโม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนมัธยมดงยาง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย         2562

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและเงื่อนไขในการสอนคณิตศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระยะที่ 4 เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมดงยาง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (Dependent)
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีและหลักการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทของครูและนักเรียน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อให้เห็นปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) การแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา (Solution Finding) เป็นการค้นหาแนวคิดและวิธีการในการแก้ปัญหา 3) การประเมินทางเลือก (Evaluation of Alternative) เป็นการพิจารณาความสมเหตุสมผลของทางเลือกในการนำไปแก้ปัญหา 4) การแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นการแก้ปัญหาตามทางเลือกที่เลือกไว้ 5) การนำไปประยุกต์ใช้ (Implicating) เป็นการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
        2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
            3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^