การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา รร.บ้านยางงาม
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านยางงาม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
อัจฉรี สรรพคุณ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านยางงาม
ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
เรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านยางงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน อัจฉรี สรรพคุณ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านยางงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ตามรูปแบบ CIPP MODEL ประชากรที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
ครูโรงเรียนบ้านยางงาม จำนวน 10 คน ผู้ปกครอง จำนวน 77 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 94 คน ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านยางงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 แบ่งออกเป็น 2 ตอน
คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และตอนที่ 2 การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านยางงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ใน 4 ด้าน
คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามวิธีการของ ลิเคอร์ท (Likert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมตั้งแต่ .29 - .81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านยางงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวม
และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบริบท ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ