รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ อายุ 2-3 ขวบ ชั้นเตรียมอนุบาล ห้องที่ 1/1
ชื่อผู้ศึกษา : นางปนอม ติปะตึง
ปีการศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ โดยรวมและรายทักษะระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ อายุ 2-3 ขวบ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ โดยรวมและรายทักษะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วย นิ้วมือ อายุ 2-3 ขวบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ ห้องที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง จำนวน 18 คน ซึ่งมีวิธี ดำเนินการศึกษา คือ ได้ทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรม ระหว่างการทดลองในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1-10 โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ จนครบ 10 สัปดาห์ จึงทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินชุดเดิม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ และแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย อายุ 2-3 ขวบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test ผลการศึกษาพบว่า
1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยรวมและรายทักษะระหว่าง การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ อายุ 2-3 ขวบ เป็นช่วงสัปดาห์ สัปดาห์ ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์ และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1
2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ การพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ อายุ 2-3 ขวบ หลังการจัดกิจกรรมมีค่าการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าก่อนการจัด กิจกรรมทั้งในภาพรวมและรายด้าน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2