รายงานผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อายุ 3-4 ขวบ
ชื่อผู้ศึกษา : นางสายสุณี โกเสนตอ
ปีการศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ ในภาพรวมและรายพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ ห้อง 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าบง ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ แผนการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ และแบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดำเนินการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมการทดลอง สังเกตพฤติกรรมระหว่างการทดลอง ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือและแผนการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จนครบ 10 สัปดาห์ จึงดำเนินการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชุดเดียวกัน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยและและค่า t-test สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ ระหว่างการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมและจำแนกรายทักษะทั้ง 4 ด้าน สัปดาห์ที่ 1-10 ทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมมีผลการการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์ และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน เป็นช่วงสัปดาห์มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นทุกสัปดาห์
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-4 ขวบ หลังการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ คือ ด้านการสังเกต หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 55.00 ด้านการจำแนกประเภท หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อน การจัดกิจกรรม โดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 55.00 ด้านการสื่อความหมาย หลังการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 58.00 ด้านการลงความเห็น หลังการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 57.00 และในภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.07 คิดเป็นร้อยละ 41.30 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.89 คิดเป็นร้อยละ 97.85 และมีค่าความแตกต่างเฉลี่ยรวม 2.83 คิดเป็นร้อยละ 56.55 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้