การพัฒนาความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กปฐมวัยโดยใช้แผน
ผู้วิจัย นางสาวรัติวดี ศรีบุญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ โครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหา ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่3 ก่อนและหลังเรียน ด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)โดยได้ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) จำนวน 11 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมด้านความสามารถ ในการทำงานกลุ่มของเด็ก สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่า t – test แบบ Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่า แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) มีประสิทธิภาพโดยรวม 85.61/84.42 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลการวัดความสามารถในการทำงานกลุ่มก่อนและหลังทำกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่า ความสามารถในการทำงานกลุ่มของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่3 หลังทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คะแนนหลังทำกิจกรรมของเด็กสูงกว่าเกณฑ์โดย คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 53.48 คิดเป็นร้อยละ89.13
3. ผลความพึงพอใจของเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) พบว่าระดับความพึงพอใจ เด็กระดับชั้น อนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด”