การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการ
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย สุชาติ เอียดวงศ์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่การศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายใน และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 76 คน และครูผู้สอน 306 คน รวม 382 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม 15 คน 2) การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการกอง จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน หัวหน้าฝ่ายงานวิชาการจำนวน 1 คน หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรและการสอน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน 30 คน และนักเรียน 255 คน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการนิเทศการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการนิเทศการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ขั้นตอน คือ ด้านที่ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการของการนิเทศภายใน ขั้นตอนที่ 2) กำหนดผู้เกี่ยวข้องและบทบาทการนิเทศภายใน ขั้นตอนที่ 3) กำหนดแผนงานและแนวทางการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ด้านที่ 2 กระบวนการนิเทศ (Process) ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 4) การเตรียมการนิเทศ ขั้นตอนที่ 5) การดำเนินการนิเทศ ด้านที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ (Output/Outcome) ประกอบด้วยขั้นตอน 6) การประเมินผลการนิเทศ ขั้นตอนที่ 7) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการนิเทศ และ ขั้นตอนที่ 8) การนำผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศไปใช้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
3.1 คุณภาพของผู้เรียนก่อนและหลังจากครูผู้สอนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนใช้โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 71.10 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.00 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน ผู้เรียนมีคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายในคิดเป็นร้อยละ 20
3.2 คุณภาพของครูผู้สอนก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.20 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.20 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในครูผู้สอนมีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 25.00
3.3 คุณภาพของผู้บริหารก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 76.00 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.15 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในคุณภาพของผู้บริหารสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 15.15
3.4 ความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อ
พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
3.5 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่ใช้รูปแบบ
การนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ของผู้ประเมิน ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความถูกต้อง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก