การพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและ
เทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบ
การประเมินแบบ CIPP MODEL ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
ชื่อผู้รายงาน: วีระยุทธ คีลาวงค์
ปีที่ศึกษา : 2562
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน กระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการและผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน นักเรียน 205 คน ผู้ปกครอง 205 คน รวมทั้งสิ้น 420 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึก แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเที่ยงของแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการของโครงการ ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น ครูและผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจะทำให้โรงเรียนได้รับการพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จากผลการประเมินรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL จะเห็นได้ว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามข้อเสนอแนะดังนี้
1. จากผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่าในภาพรวมครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีระดับความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมของการดำเนินงานการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กระบวนการคิดของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.69 - 4.60 โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 2 รายการ อยู่ในระดับมาก 5 รายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ รายการที่ 2 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบาย ( = 4.60) และรายการที่ 7 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ( = 4.60) รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ รายการที่ 8 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
( = 3.60)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยพบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง
มีระดับความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมาก ในภาพรวม ครูและบุคลากรและผู้ปกครอง ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาทักษะทางด้านปัญญา สังคม กระบวนการคิดของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) เมื่อพิจารณาเป็นราย รายการพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.91 – 4.60 สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือรายการที่ 2 ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีความสามารถในการดำเนินโครงการ ( = 4.60) และรายการที่ 7 ระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม
( = 4.60) รองลงมาคือ รายการที่ 1 ผู้บริหารและคณะครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ( = 4.21) และรายการที่ 3 บุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ( = 4.21) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ รายการที่ 5 งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ( = 4.10) และรายการที่ 6 มีคู่มือดำเนินโครงการวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีเพียงพอ
( = 4.10)
จากผลการประเมินประเด็นปัจจัย พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากคือ ความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการเนื่องจากบุคลากรได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มโครงการ ทำให้บุคลากรกรมีความรู้ความสามารถและมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้โครงการยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินการอีกด้วย
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการพบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีระดับความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
อยู่ในระดับมาก พบว่าในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นราย รายการพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.18 – 4.55 ทุกรายการอยู่ในระดับมาก สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รายการที่ 1 มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการสู่การปฏิบัติ ( = 4.52) รายการที่ 5 การดำเนินงานเป็นไปตามโครงการที่กำหนด ( = 4.55) และรายการที่ 6 มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ( = 4.54) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ รายการที่ 7 มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงานเป็นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ( = 4.55)
จากผลการประเมินกระบวนการ พบว่าผ่านเกณฑ์ระดับมาก คือ กิจกรรมที่ดำเนินการ และการติดตามโครงการ สาเหตุที่สำคัญ คือ ครูและผู้รับผิดชอบโครงการเห็นว่าการดำเนินโครงการ จะสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ได้ จะต้องมีกระบวนการการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องมีการนิเทศติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.17– 4.69 โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ อยู่ในระดับมาก 5 รายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือรายการ ที่ 1 นักเรียนที่ร่วมโครงการมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ ( = 4.69) รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ รายการที่ 5 นักเรียนที่ร่วมโครงการสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ( = 4.17)