LASTEST NEWS

10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 ต.ค. 2567ข่าวดี!!! สพป.สกลนคร เขต 1 เตรียมเรียกบรรจุครูผู้ช่วย 8 วิชาเอก 30 อัตรา 10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูน

usericon

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบแผน Pre Experimental Design ใช้แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลัง (The One group Pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 2) ศูนย์การเรียนมีจำนวน 2 ศูนย์การเรียน แต่ละศูนย์การเรียนใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ ประกอบด้วยศูนย์การเรียนที่ 1 การทำปุ๋ยชีวภาพแบบน้ำ และศูนย์การเรียนที่ 2 การทำปุ๋ยชีวภาพแบบแห้ง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ ทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีแผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ 2 ชั่วโมงและแผนการจัดการเรียนรู้ปัจฉิมนิเทศ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง และหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) และหาความเชื่อมั่นในการให้คะแนนด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Coefficient Correlation) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2 ในการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย ( )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)ทดสอบค่าที( t-test dependent)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 81.35/83.57 อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ และจากการใช้แผนการจัดการจัดเรียนรู้แบบรายกลุ่มหนึ่งต่อหนึ่ง มีประสิทธิภาพ 61.53/77.50 แบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพ 76.34/82.78 ตามลำดับ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ .57 ซึ่งแสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 8 แผน ทำให้นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นหรือมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 57 3) ความสามารถในการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบร่วมมือโดยใช้ศูนย์การเรียน เรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^