การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคน
บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสมบัลย์ แก้วงาม
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิคSTAD บูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STADบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 4. 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบแผน Pre Experimental Design ใช้แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลัง (The One group Pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง จำนวน 6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีแผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ 2 ชั่วโมงและแผนการจัดการเรียนรู้ปัจฉิมนิเทศ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง และหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) และหาความเชื่อมั่นในการให้คะแนนด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Coefficient Correlation) 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิคSTAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย ( )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)ทดสอบค่าที( t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ให้ความเห็นที่สำคัญต่อการใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาเของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน ที่ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง คำนำ คำชี้แจง สารบัญ ภาษา พาเพลิน คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ใบความรู้/ตัวอย่าง ใบกิจกรรม/แบบฝึกหัด แบบทดสอบย่อย แบบบันทึกคะแนน เฉลยแบบสำหรับครู แบบสังเกตพฤติกรรม เกณฑ์การให้คะแนน จำนวน 6 ชุดกิจกรรม ที่ประกอบด้วยเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชางานอาชีพ1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง งานบ้านการเรือน 1)ความปลอดภัยในการทำงานบ้าน 2) การวางแผนในการดูแลรักษาบ้าน 3)อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน 4)การดูแลรักษาความสะอาดบ้าน 5)การดูแลรักษาเครื่องเรือน 6)การจัดและตกแต่งห้อง โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.85/82.50 แบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.99/81.95 และแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.41/83.33 โดยการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง ซึ่งมีปฐมนิเทศ 2 ชั่วโมงและปัจฉิมนิเทศ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมงและการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนกิจกรรมด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือใช้เทคนิคSTAD บูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานบ้านการเรือน พบว่า การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.87/82.75 ความสามารถในการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.83 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดี