การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโน
สารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ผู้วิจัย นางศันสนีย์ เผ่าจินดา
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ในด้าน (2.1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและผลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (2.2) ความสามารถ ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 และ (2.3) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความสามารถในการออกแบบของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารและการจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้เข้ารับ การฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test การพัฒนาหลักสูตรมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำร่างหลักสูตรฝึกอบรม การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 พบว่า
1.1 ผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาชุดฝึกอบรม จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมฝึกอบรม แนวคิดทฤษฎี งานวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 และการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้ข้อมูล ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำมากำหนดโครงร่างของชุดฝึกอบรม ประกอบด้วย เหตุผลและความจำเป็น หลักการ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหาของชุดฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม กิจกรรมการดำเนินการฝึกอบรม ระยะเวลาฝึกอบรม สื่อวัสดุ อุปกรณ์ เอกสารประกอบการฝึกอบรม และการประเมินผลการอบรม โดยเนื้อหาที่นำมากำหนดในการจัดทำร่างชุดฝึกอบรมประกอบด้วย 1) แนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) วิถีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ละการเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 3) สมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ 5) ทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ 21 6) การออกแบบจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 7) การเขียนแผนการจัดการเรียน ในศตวรรษที่ 21 และ 8) การวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21สำหรับกิจกรรมและกระบวนการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 เน้นผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมและเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แก่ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ครูผู้เข้าอบรมสามารถนำรูปแบบ กิจกรรมจากการฝึกอบรมไปใช้ในการออกแบบจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
1.2 ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมในระดับมาก ดัชนีความสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย 0.92 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 1
2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 พบว่า
2.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีคะแนนจากการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังการฝึกอบรมแตกต่างกัน โดยมีคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก สอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 2
2.2 ความสามารถในการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 พบว่าครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 3 โดยมีผลการประเมินความสามารถ รายด้านดังนี้
ด้านจุดประสงค์/เป้าหมายการสอนมีผลการประเมินรายด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกรายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เน้นที่พฤติกรรมระดับสูงของผู้เรียนหรือทักษะการคิดขั้นสูง และ ระบุครบทั้ง 3 ด้าน คือพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
ด้านเนื้อหามีผลการประเมินรายด้านอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า รายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ สอดคล้องกับจุดประสงค์ มีการเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันในชุมชนท้องถิ่น ส่วนรายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ได้แก่ จัดลำดับเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน และมีการเขียนในรูปแนวคิดที่นักเรียนต้องเรียนรู้
ด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้มีผลการประเมินรายด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า
ขั้นนำมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ มีการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียน มีการเข้าสู่บทเรียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่น่าสนใจ และรายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ได้แก่ มีกิจกรรมที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
ขั้นสอนมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ มีกิจกรรมที่หลากหลายตอบสนองต่อความแตกต่างของผู้เรียน เน้นกิจกรรมที่เน้นทักษะการอ่านออก เขียนได้ และคิดเป็น นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และมีคำถามที่กระตุ้นทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือคิดสร้างสรรค์ ขั้นสรุปมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ ส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร เช่น การนำเสนอการอภิปรายในกลุ่ม และรายการที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ได้แก่ เน้นการจัดกิจกรรมให้นักเรียนสรุปความรู้ด้วยตนเอง เตรียมคำถามหรือวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ที่ชัดเจน และมีการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
ด้านสื่อและอุปกรณ์มีผลการประเมินรายด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกรายการมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ ใช้สื่อที่เหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรม มีการใช้เทคโนโลยีร่วมในการจัดการเรียนรู้ และ มีการเตรียมสื่อที่หลากหลาย
ด้านการวัดและประเมินผล มีผลการประเมินรายด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกรายการมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ มีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ก่อนระหว่าง และหลังการสอน มีวิธีการวัดแลประเมินผลงานหรือชิ้นงานของนักเรียน มีการวัดและประเมินผลกระบวนการหาคำตอบของนักเรียนเพื่อตอบคำถามหรือแก้ปัญหา วิธีการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์/เป้าหมาย การสอนและมีวิธีการวัดและประเมินที่หลากหลาย
2.3 ความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมุติฐานข้อ 4