เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้วิจัย นางปัทมา น้ำแก้ว
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (4) ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลราษฎร์เจริญ สังกัดเทศบาลตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า “GISOAA Model” มีองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Gaining attention: G) 2) ขั้นแจ้งจุดประสงค์ (Inform objective: I) 3) ขั้นกระตุ้นความรู้เดิม (Stimulate knowledge: S) 4) ขั้นเสนอบทเรียนใหม่ (Offer new lessons: O) 5) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action: A) และ 6) ขั้นประเมินพฤติกรรม (Assess behavior: A) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านภาษาไทย ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยต้องการให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกหัด บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 78.89/76.67 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.93/78.33 และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 82.44/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 28 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.38/83.64 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก