รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ ในครั้ง นี้ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์(CIPP Model) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู และบุคลากร จำนวน 19 คน ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 142 คน และนักเรียน จำนวน 142 คน ของโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท พบว่าวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ความต้องการของโรงเรียน ความต้องการของ ผู้ปกครอง และชุมชน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้บริหาร ครู และบุคลากร มีความคิดเห็นว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูมีเจตคติที่ดี และมีความสามารถในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับ ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน มีบุคลากรที่ร่วมดำเนินการอย่างเพียงพอ และเหมาะสมมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเพียงพอ และเหมาะสมคู่มือในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งบประมาณในการดำเนินโครงการ และระยะเวลาใน การดำเนินโครงการ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผู้บริหาร ครู และบุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อม และความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ากิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลกิจกรรมคัดกรองนักเรียนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน และกิจกรรมป้องกันช่วยเหลือ และแก้ไขมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมส่งต่อนักเรียน การนิเทศกำกับ ติดตามการดำเนินงานของระบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินด้านผลผลิต พบว่าผู้บริหาร ครู และบุคลากร ผู้ปกครองเครือข่าย และนักเรียนมีความคิดเห็นว่าใน ภาพรวมคุณภาพคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนอยู่ในระดับดี และความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของโครงการในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. การประเมินด้านผลกระทบ พบว่าผู้บริหาร ครูและบุคลากร มีความเห็นต่อผลกระทบต่อโครงการในเชิงบวกใน ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าผลกระทบเชิงบวกต่อโรงเรียนที่อยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ ครูมีความ ภาคภูมิใจในบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ครูมีทักษะด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ครูมีทัศนคติที่ดีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะต่อนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อครู และโรงเรียนโรงเรียนได้รับความไว้วางใจจาก ผู้ปกครอง ชุมชน ในการส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาในโรงเรียนมากขึ้น โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยากร และแหล่งเรียนรู้ของระบบการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน และโรงเรียนได้รับการยกย่องเป็นโรงเรียนที่มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น