การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น Active Learnin
ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา คล้ายแดง
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning)ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้
อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา จำนวน 8 คน นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๑ ทรงพลวิทยา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน
และปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบวิเคราะห์เอกสาร
2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน แบบสังเกตทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบสอบถาม
ความพึงพอใจ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
พบว่า โดยภาพรวมเห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบ Active Learning เนื้อหาควรใช้ตามหลักวิชา
ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
เนื้อหาควรมีความละเอียด แบ่งเนื้อหาออกเป็นเรื่อง ๆ ชุดการสอนควรมีลักษณะเป็นสื่อประสม
ที่มีความหลากหลาย การวัดผลควรมีทั้งแบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม และการตอบคำถาม
ปากเปล่า มีแหล่งอ้างอิงในการสืบค้นเนื้อหาข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ การจัดการเรียนรู้ควรจัดแบบกลุ่ม นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และสามารถส่งเสริม
ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจได้จริง
2. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า องค์ประกอบหลักของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แผนการสอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) 2) ชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำหน่วย
การเรียนรู้ ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพรายบุคคล แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม ได้ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 68.33/70.00, 79.31/79.44 และ 83.25/84.25 ตามลำดับ
3. การทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับ
ชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนร้อยละ 59.38 มีทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก
และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลและปรับปรุง พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.37/88.75 และนักเรียนร้อยละ 87.50 เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้
อย่างกระตือรือร้น (Active Learning) ร่วมกับชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5