ศึกษาลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชที่ญาติมีแนวโน้มทอดทิ้งกรณีศึกษา
ผู้วิจัย: นางสุมาลี ช่วยเนียม
กลุ่มงาน : สังคมสงเคราะห์ กลุ่มทุติยภูมิตติยภูมิโรงพยาบาลสงขลาพ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สัญชาติของผู้ป่วยจิตเวชที่ญาติมีแนวโน้มทอดทิ้งและเพื่อศีกษาแนวทางสร้างระบบการจัดการผู้ป่วยจิตเวชที่ญาติมีแนวโน้มทอดทิ้งกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 133คน โดยวิธีการแบบบันทึกของโรงพยาบาล และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดยใช้มาตรวัด แบบ Likert Scale 5ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการจัดลำดับ สำหรับการทดสอบ ดังนี้
1. แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจำนวน 133คน ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลสงขลาที่มีแนวโน้มถูกทอดทิ้งพบว่าเป็นเพศชาย ( ร้อยละ 75.94) อายุอยู่ในช่วง20 - 40 ปี ( ร้อยละ 45.11) มีสัญชาติไทย (ร้อยละ 97.74) มีสิทธิการรักษา UC หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( ร้อยละ78.20) มีระดับการศึกษา ประถมศึกษา (ร้อยละ 52.63 ) มีสถานภาพสมรสเป็นโสด (ร้อยละ 71.43 ) ศาสนา นับถือพุทธ (ร้อยละ 81.95 ) จำนวนสมาชิกในครอบครัวซึ่งมี 2 – 3 คน(ร้อยละ 70.68 )มีรายได้ที่ได้รับต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท(ร้อยละ 47.37 ) โรคประจำตัวทางกายไม่มี (ร้อยละ 63.91) มีภูมิลำเนาจังหวัดสงขลา(ร้อยละ 90.23) มีผู้นำส่งญาติ (ร้อยละ 71.43 ) สถานที่อยู่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็นบ้านตัวเอง (ร้อยละ 81.95 ) คดีความ ไม่มี (ร้อยละ 94.74 )
2. ลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชที่ญาติมีแนวโน้มทอดทิ้งในแต่ละด้านจากการวเิคราะห์ ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติผู้ป่วยจิตเวชทีได้รับการรักษาเป็นประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาลสงขลาซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านปัญหาการส่งต่อ( x̄ =4.23 , SD= 0.04) อยู่ในระดับมากที่สุดด้านการดำเนินงานของนักสังคมสงเคราะห์( x̄ =4.04 , SD= 0.09)อยู่ในระดับมากด้านครอบครัว / ( x̄ =4.14 , SD= 0.68 )อยู่ในระดับมากด้านสถานพักฟื้น / สถานสงเคราะห์( x̄ =4.18 , SD= 0.10) อยู่ในระดับมาก