LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา        นางปิยพัชร์ นิยมจิตร์
โรงเรียน        โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา        2562

บทคัดย่อ

    การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียน การสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาสาระ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 การอ่าน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้สำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังเคราะห์แนวคิด หลักการทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการสอน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทฤษฎีการเรียนรู้ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D & D) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นโครงร่างรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบและด้านการสอนภาษาไทย จำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการสอน และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบและนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ และหาประสิทธิภาพก่อนนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) : เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำร่างรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One-Group Pretest-Postest Design) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) : เป็นการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้ เป็นการนำผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบได้แก่ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนก่อน และหลังการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนที่ใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลุ่มตัวอย่างของขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test dependent samples)

สรุปผลการวิจัย
    1. สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.88, S.D. = .31) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านครูผู้สอนพบว่า สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.76, S.D. = .21) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการอ่านคิดวิเคราะห์ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 2.60, S.D. = .89) ด้านความต้องการ ครูมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.60, S.D. = .18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านครูผู้สอนพบว่า ครูมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.67, S.D. = .16) ด้านการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ พบว่าการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.57, S.D. = .22)
    2. รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกิจกรรมการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นที่ 4 ขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินผล 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ 5) การประเมินผลรูปแบบ ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการสอนภาษาไทย จำนวน 9 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54, S.D = .15) และค่าเฉลี่ย (X ̅) ตั้งแต่ 4.22 – 4.78 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ .44 - .87 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้อง เชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์เท่ากับ 82.66/82.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.53, S.D = .18)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^