เผยแพร่ผลงานวิชาการ
หาความรู้ 5 ขั้น เรื่องธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวอรวรรณ แสงเทพ
หน่วยงาน โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่องธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ของชั้นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2 )เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย จำนวน 14 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ชุดกิจกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์วิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่องธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 87.66/88.40
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.15 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 24.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.64 และค่า t เท่ากับ 43.49 แสดงว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่องธรรมชาติและพัฒนาการทาง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรวม ( ) = 4.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.19 ค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด