ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะการอ่
เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้รายงาน นางวณิชชา ประมาณ
ปีที่รายงาน 2562
บทคัดย่อ
ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพคำคล้องจอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลตำบลแม่เมาะ จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 183 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สังกัด กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลตำบลแม่เมาะ จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือภาพคำคล้องจอง จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่าน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ และแผนการจัดประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือภาพคำคล้องจอง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.24 / 86.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งด้านการจำแนกความแตกต่างของเสียง ด้านการจำแนกความแตกต่างของภาพ ด้านการบอกชื่อตัวอักษรหรือการรู้จักตัวอักษรและด้านการอ่านคำศัพท์และการรู้ความหมายของคำ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้