การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 34 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 11 แผน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและแบบอัตนัย ชนิดเขียนตอบ จำนวน 3 ข้อ ตามลำดับ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลข้อมูลโดยการบรรยายสรุปเป็นความเรียงเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีเอไอ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก