การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การอ่านวรรณคดีไทยและวรรณกรร
สถานศึกษา โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานพัฒนาทักษะการอ่าน 2) พัฒนาทักษะการอ่านด้วยแบบฝึกทักษะและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึก และ 4) ประเมินและปรับปรุงแบบฝึกที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินและปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และครูภาษาไทย โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำแนกเป็นนักเรียนจำนวน 34 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มและครูภาษาไทย จำนวน 5 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.71-1.00 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71) 3) แบบฝึกทักษะการอ่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.85) 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน มีค่าความยากเท่ากับ .27-.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t- test (Dependent Samples)
ผลการพัฒนาปรากฏผลดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา พบว่า นักเรียน และครู ต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกการอ่าน ด้วยวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน ที่มีรูปแบบหลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม และดึงดูดความสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ด้านเนื้อหามีเนื้อหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียนด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนและครู ส่วนใหญ่มีความต้องการการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มที่มีการแบ่งกลุ่มคละกันระหว่างกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อได้ฝึกเป็นผู้นำ ผู้ตาม ได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน
2. การพัฒนาแบบฝึก พบว่า แบบฝึกการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีจำนวน 8 ชุด ได้แก่ 1. วรรณคดีไทยล้ำค่า 2. ภาษาอาเซียน 3. เรียนรู้นิทาน 4. ชื่นบานเพลงชาติ 5. นาฏการณ์
ในบทกวี 6. นำชีวีด้วยพระบรมราโชวาท 7. ศาสตร์ศิลป์จากบทเพลงไทย และ 8. ใส่ใจอนุรักษ์ภาษาถิ่น ในแต่ละชุดมีองค์ประกอบดังนี้ คำชี้แจง จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการใช้แบบฝึก แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบกิจกรรม (แบบฝึก) แนวตอบแบบฝึก แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และบรรณานุกรม ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน พบว่า รายบุคคล มีค่าเท่ากับ 66. 52/63.83 ประสิทธิภาพการทดลองกลุ่มเล็ก มีค่าเท่ากับ 78.38/76.08 และประสิทธิภาพการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 86.52/84.90
3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.52/84.90 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7563 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีทักษะการอ่านหลังเรียน อยู่ในระดับสูง และมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71)
4. การประเมินและปรับปรุงแบบฝึกการอ่าน ที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น มีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง และมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะ ด้านประโยชน์ในการเรียนรู้ด้วยแบบฝึก และด้านกิจกรรมในการเรียนรู้ ( = 4.78 ; 4.75 และ 4.67 ตามลำดับ)