รายงานการพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวสมหมาย บุตรวงศ์
ที่ปรึกษา นายชัยชนะ ผลาพงศ์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างและพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตรเรื่องงานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) แผนการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3จำนวน 10แผน 2)ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่มีประสิทธิภาพ 83.52/82.25ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 จำนวน 10เล่ม3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.88 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.53 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปและ4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สรุปผลการวิจัย
1. ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพ 83.52/82.25แสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีค่าเท่ากับ 0.6982 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.82
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตร เรื่อง งานเกษตรแสนสนุก วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในรายการประเมิน2 รายการ ได้แก่ กิจกรรมในชุดฝึกเสริมทักษะงานเกษตรมีความหลากหลายท้าทายให้ศึกษาเนื้อหาภาพประกอบสื่อได้ชัดเจน และในรายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่เมื่อมีการทดสอบนักเรียนพอใจในคะแนนที่นักเรียนทำได้เสมอ