LASTEST NEWS

01 ส.ค. 2567เรียกล็อตใหญ่ ๆ สศศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 146 อัตรา - รายงานตัว 16 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000-20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้-10 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับเขตสวนหลวง รับสมัคร ครู ศรช. วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 1 - 13 สิงหาคม 2567 01 ส.ค. 2567ประกาศแล้ว !! เปิดรับสมัครสอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ปี 2567 รับสมัคร 16-22 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้
    Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
    อุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย             นายแสงสุรีย์ ยอดคำ
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน     โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย     2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมุติฐานประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t-test dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากนักเรียนต้องการศึกษาด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้เชี่ยวชาญการสอนวิชาประวัติศาสตร์เห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ให้ มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SAENG Model โดยรูปแบบมีองค์ประกอบคือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระการเรียนรู้ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล และ (6) สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมรูปแบบ SAENG Model มีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความใฝ่รู้ (Stimulas) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Ascertain) 3) ขั้นเชื่อมโยงแนวคิด (Elaboration) 4) ขั้นสรุปร่วมกัน (Knowledge sharing) 5) ขั้นประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ (Great apply and creativity)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.68/84.75
    4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
        4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7661 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.61
        4.3 การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้โดยใช้ Google Classroom เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.41)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^