การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรีย
ปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวนวพรรณ พันธุรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงานที่สังกัด เทศบาลตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการสอนการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุง ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R.
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposivie sampling) ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยปฏิบัติหน้าที่เป็นครูประจำชั้น และปฏิบัติการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 16 ชั่วโมง 2) บทอ่านที่ใช้ในการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุง จำนวน 7 เรื่อง 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 8 ชุด ชุดละ 10 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการ จับใจความสำคัญ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการสอนการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจต่อการอ่านจับใจความสำคัญจากวรรณกรรมท้องถิ่นพัทลุงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R อยู่ในระดับมาก