LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนา ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์
ผู้วิจัย        นางโสรัจจ์ แสนคำ
ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ

    การจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ จะต้องอาศัยเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมแบบโครงงานและจะต้องจะต้องอาศัยแหล่งเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตรวบรวมข้อมูล การสังเคราะห์ การสรุปข้อมูลเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน มุ่งหวังให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้และพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้สูงขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ และวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชมรม หุ่นยนต์ ของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ 2) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนหุ่นยนต์ ครูที่รับผิดชอบฝึกซ้อมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันโครงการโอลิมปิกหุ่นยนต์ (World Robot Olympiad : WRO) จำนวน 5 คน และนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 15 คน โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่จัดเข้ากลุ่มจำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน วิธีดำเนินการ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การนำรูปแบบไปใช้ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุง

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
    1. ผลการศึกษาศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชมรมหุ่นยนต์ ของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ เกี่ยวกับความสามารถในการสอนโครงงานหุ่นยนต์ของครูยังต้องมีการพัฒนาความรู้ ครูควรมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้เนื้อหาเป็นผู้ให้คำปรึกษา ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ครูควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยการทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ การทํางานเป็นทีมและมีสื่อออนไลน์ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมที่เพียงพอ ในการเรียนการสอนรวมทั้งการนำเสนอผลงานไม่สนุก น่าเบื่อ และมีการวัดและประเมินผลจากการประเมินผลงานนวัตกรรมที่เป็นมาตรฐาน ใช้แบบประเมินที่มีการกำหนดค่าความสำเร็จที่เป็นมาตรฐานแบบรูบิค โดยประเมินทั้งความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและผลงานนวัตกรรมของนักเรียน นักเรียนยังขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ขาดทักษะในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม และยังไม่แบ่งหน้าที่การทำงานแบบทีม
2. ผลการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน
Wro-PpBL ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ พบว่า การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการที่หลากหลาย คำนึงถึงความแตกต่างและความถนัดของแต่ละคน มีการเรียนรู้เป็นทีม เน้นกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การอภิปรายแสดงความคิดเห็น และการใช้สื่ออนไลน์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL ที่จะช่วยในการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนให้เพิ่มสูงขึ้น และนักเรียนมีผลงานนวัตกรรมที่มีคุณภาพ    
    3. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้เรียนจะต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มหรือทีม ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน มีการสืบค้นหาความรู้จากออนไลน์ผสมผสานกับกิจกรรมในห้องเรียน (Blended Learning) เพื่อให้แนวคิดนำไปสู่กระบวนการสร้างนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์สำหรับนำไปใช้ในการแข่งขันและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งได้สังเคราะห์จนเกิดเป็นรูปแบบการเรียน Wro-PpBL ที่สามารถตอบสนองต่อบริบทของสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชมรมหุ่นยนต์ และพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและผลงานนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ได้เป็นอย่างดี มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมความพร้อม การกำหนดปัญหาหัวข้อตามโจทย์ของนานาชาติ WRO การรวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการสร้างสรรค์นวัตกรรม ออกแบบและลงมือปฏิบัติ ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข ประเมินผลการทำโครงงานและผลงานนวัตกรรม และการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ โดยในการจัดปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดเตรียมระบบอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีให้เพียงพอ จัดหาวัสดุ ชุดอุปกรณ์ประกอบโครงสร้างหุ่นยนต์ Lego Educationและชุดเสริม EV3 Mindstrom เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU ความแรงขนาด Core i5 ขึ้นไปเพื่อให้การประมวลผลคำสั่งเร็ว ขนาด RAM ไม่น้อยกว่า 8G และลงโปรแกรม LEGO MINDSTORMS Education EV3 สำหรับใช้เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ โปรแกรม Lego Digital Designer สำหรับใช้ออกแบบภาพ 3 มิติและจำลองการทำงาน จัดเตรียมแหล่งค้นคว้าข้อมูลทั้งในห้องเรียนและบนสื่อออนไลน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ต้องพัฒนาครูให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL รวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่อนักเรียนที่ทำกิจกรรม โดยเชื่อว่านักเรียนมีความสามารถในการพัฒนาตนเองได้โดยร่วมกันทำกิจกรรมเป็นทีมโดยผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
    ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และในการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.73/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้        
    4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ พบว่า ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ รูปแบบการเรียน Wro-PpBL พบว่า ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (คิดเป็นร้อยละของการพัฒนา 27.03)
    5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านหุ่นยนต์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.534
    โดยสรุป นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูที่สอนด้านหุ่นยนต์นำรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการเรียน Wro-PpBL นี้ ไปใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^