บริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้
ชื่อผู้วิจัย ธันยากร แพกุล
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการจัดเรียนรู้ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) 4) เพื่อประเมินผลปรับปรุง รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 18 คน นักเรียนจำนวน 166 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ ทดสอบก่อนการจัดอบรม แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบประเมินทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอน เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน ต้องมีการบริหารจัดการโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเร่งพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งควรใช้แนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อรวมตัวของครู มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเองสู่คุณภาพผู้เรียน
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) รูปแบบ (PSPE Model) ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การบริหารเชิงกลยุทธ์ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน 4) การขยายผล การประเมินความเหมาะสมรูปแบบภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) ก่อนอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 7.94 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 17.39 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่าคะแนนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมบูรณาการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน)
1) ประเมินการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาครูมุ่งสู่คุณภาพผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมาก
2) ประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3) ประเมินทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4) ระดับพฤติกรรมนักเรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก