รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักความเป็นไทย ของนักเรียน
โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นายสยามรัฐ กำไลนาค
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)เทศบาลนครนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักความเป็นไทย ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPIEST Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบทที่เกี่ยวข้องกับด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ซึ่งได้แก่ ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ ด้านประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ประกอบด้วย บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 32 คน นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 451 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 451 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จาก (1) ข้อมูลจากเอกสาร (Document) (2) ข้อมูลจากแบบประเมิน (3) ข้อมูลการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบประเมิน จำนวน 5 ฉบับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น โดยใช้รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบ 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( , ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (,S.D.) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ (Description Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอธิบายความ (Explanatory Analysis)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า ก่อนเริ่มโครงการนักเรียนมีการร่วมกิจกรรมรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย แต่เรื่องการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นจุดที่ต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนา เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับสูงขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ตั้งแต่พื้นฐาน การอ่าน เขียน รวมถึงการพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และสามารถพูดในที่สาธารณะได้ รวมถึงการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดจากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักความเป็นไทย ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้ มีความพร้อมด้านสถานที่ งบประมาณ บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) มีระดับความเหมาะสมเฉลี่ยโดยรวมในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นลำดับพบว่า ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินงาน โครงการมีความพร้อมและเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนขั้นประเมินผลและรายงาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ พบว่า การจัดโครงการครั้งนี้ มีการเตรียมการเป็นอย่างดีทุก ๆ ด้าน ในขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า สามารถดำเนินการไปได้ตามขั้นตอนในขั้นตอนประเมินผลและรายงาน พบว่า มีการประเมินผลเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) จำแนกตามพฤติกรรมของนักเรียน การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักความเป็นไทย ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกเป็น
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่ามีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในพฤติกรรมของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ชุมชนให้การยอมรับคุณภาพของนักเรียนที่มีการปรับเปลี่ยนในทิศทางที่ดีขึ้น และมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) พบว่าภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนให้ความมั่นใจว่าจะมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และประพฤติเป็นแบบอย่างเหมาะสมกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนมีความมั่นใจในพฤติกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และผู้ปกครองมีความเชื่อว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนจะลดลง
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) พบว่าภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้ สามารถนำทักษะความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน และการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ภาพรวมพบว่า มีค่าอยู่ในระดับมากโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรกได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนสามารถประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและนักเรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ให้ชุมชนเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติ
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่า โดยรวมแล้วมีความพึงพอใจมากที่สุด เป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้นักเรียนโดยตรง และเป็นประโยชน์ กับนักเรียนมากที่สุด ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรัก ความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักชุมชนท้องถิ่นเห็นควรที่จะมีการดำเนินโครงการนี้ต่อไป