รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)
สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นายสยามรัฐ กำไลนาค
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)เทศบาลนครนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการสร้าง รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้าง รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อทดลองใช้ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครู จำนวน 68 คน รวมทั้งสิ้น 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นจำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีปัญหาในด้านบุคลากรและความชัดเจนของระบบการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นระบบและมีรูปธรรมชัดเจน และมีปัญหาในด้านการจัดกิจกรรมที่ชัดเจนและขาดความสมบูรณ์ในเชิงองค์ความรู้
2. การพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยการศึกษารูปแบบและการวิเคราะห์รูปแบบการบริหาร โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้บริหารและครูคณะกรรมการศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงคุณภาพและมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น โดยได้มีการวางแผนแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจากข้อมูลสภาพปัญหาที่ได้ศึกษา ได้ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (PSA2RI Model) มีปัจจัยนำเข้าในการขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 1) นโยบายการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Policies) ซึ่งเป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาประกอบด้วย นโยบายการศึกษาของชาติ นโยบายการจัดการศึกษาของกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวง มหาดไทย และนโยบายการจัดการศึกษาของเทศบาลนครนครราชสีมา 2) มาตรฐานและตัวชี้วัด (Standard & Indicators) ได้แก่ มาตรฐานและตัวชี้วัดของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) การบริหารจัดการความรู้ (Administrative) กรอบองค์ความรู้ด้านการจัดการความรู้ ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ 4) ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ (Resource) ได้แก่ งบประมาณและเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้สำหรับนักเรียน 5) การบูรณาการ (Integration) 6) การปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วม (Relationship & Participation) และ 7) การนำรูปแบบการบริหารจัดการไปปฏิบัติ (Implement) ซึ่งการขับเคลื่อนการบริหารงานตามรูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อาศัยการ บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรของสถานศึกษา ขับเคลื่อนร่วมกับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก คณะกรรมการสภานักเรียน ซึ่งการขับเคลื่อนการบริหารโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) ได้อาศัยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารงานตามกรอบการทำงานของวงจรเดมิ่งคือการวางแผน การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบการปฏิบัติงานและการปรับปรุงแก้ไข โดยกำหนดเป้าหมายของการบริหารสถานศึกษาไว้ 3 ด้านได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านการจัดการโรงเรียนและด้านผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลการใช้ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยในการเตรียมการได้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ได้ประชุมนัดหมายกับครูผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นคณะทำงานของโรงเรียน เพื่อชี้แจงถึงกำหนดการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมและกิจกรรมที่ครูต้องปฏิบัติ ในขั้นการดำเนินการโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารจัดการความรู้และแหล่งเรียนรู้จากทุกภาคส่วนทั้งในส่วนผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคณาจารย์และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันจัดการความรู้และมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ครูในระหว่างการทำงาน ทำให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอนและกิจกรรมในการพัฒนา และในการดำเนินการ มีการตรวจแผนการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ผู้ศึกษาตรวจสอบร่วมกับครูผู้รับผิดชอบ พบว่า คณะทำงานได้ปฏิบัติงานครบกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด การดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินกิจกรรมในเรื่องใดก็ตามครูมีการทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นคณาจารย์ระดับอุดมศึกษาเป็นที่ปรึกษาทำให้ครูมีความมั่นใจการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ทำให้นักเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นและได้รับพัฒนาทักษะการเรียนรู้เต็มศักยภาพตามเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตร และทิศทางที่โรงเรียนกำหนด
4. การประเมินและปรับปรุง รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64) 2) ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.49) และ 3) ผู้วิจัยได้ปรับปรุงการดำเนินงานโดยจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรฐานตัวชี้วัด และการจัดการความรู้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่ให้ความร่วมมือทางวิชาการ โดยการประชุมให้ความรู้และทบทวนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงคู่มือการดำเนินงาน แผนปฏิบัติงาน ที่เพิ่มเติมรายละเอียดให้ครอบคลุมการดำเนินงานของครูให้สามารถปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้รับผิดชอบ ครูผู้สอนเกิดความเข้าใจในระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถปฏิบัติงานรวมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจในการปฏิบัติแก่ครูได้เป็นอย่างดียิ่ง จึงส่งผลให้การกำกับ ติดตามเป็นไปตามที่กำหนดไว้ คณะทำงานของโรงเรียนและครูสามารถดำเนินงานร่วมกันโดยใช้ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และกระบวนการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้นได้อย่างบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อ รูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปแบบนี้สอดคล้องกับแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานตามรูปแบบจะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน