LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การประเมินความสามารถด้านการอ่านชั้น ป.1

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน
    ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
    การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมินโครงการ นางสาววริศศรุตา ตามตะคุ
หน่วยงาน      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
    การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 กับผลการประเมินในปีการศึกษา 2561 เปรียบเทียบผลการประเมินจำแนกตามกลุ่มโรงเรียน และเปรียบเทียบผลการประเมินกับระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับศึกษาธิการภาค ระดับสังกัด และระดับประเทศ โดยยึดรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ตามรูปแบบแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610)ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เกี่ยวกับโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
    1. ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) ผลการประเมินโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 2 โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการอ่านมีความจำเป็น และสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (X=4.40) ข้อ 5 วัตถุประสงค์โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการอ่านได้ระบุถึงการให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (X=4.40) และข้อ 4 โครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการอ่านเป็นภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษา (X=4.34)
    2. ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) ผลการประเมินโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X=4.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 10 มีการประชุมชี้แจงนโยบายของผู้บริหาร (X=4.42) ข้อ 9 มีการประชุมครูเพื่อจัดทำโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการอ่านเสนอเข้าแผนของโรงเรียน (X=4.26) และข้อ 2 สถานที่ที่ใช้ในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการอ่านเหมาะสม (X=4.16)
    3. ด้านกระบวนการ (Process) ผลการประเมินโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X=4.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 6 มีการจัดกิจกรรมชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร (X=4.28) ข้อ 13 มีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการอ่าน และกิจกรรมในตอนสิ้นปีการศึกษา (X=4.26) และข้อ 15 มีการใช้ผลดำเนินงานเพื่อการวางแผนของปีต่อๆ ไป (X=4.24)
    4. ด้านผลผลิต (Product) ผลการประเมินโครงการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (X=4.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 9 ครูปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ (X=4.48) ข้อ 1 มีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนและสอดคล้องกับหลักสูตร และข้อ 8 ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น (X=4.38)
5. ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading Test : RT) โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2562 กับผลการประเมินในปีการศึกษา 2561 เปรียบเทียบผลการประเมินจำแนกตามกลุ่มโรงเรียน และเปรียบเทียบผลการประเมินกับระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับศึกษาธิการภาค ระดับสังกัด และระดับประเทศ ผลปรากฏดังนี้
    5.1 เปรียบเทียบผลการประเมินด้านการอ่านในปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2561 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินด้านการอ่านในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2561 (X=5.42) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2561 (X=5.78) และความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่องของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2561 (X=5.07)
    5.2 เปรียบเทียบผลการประเมินด้านการอ่านจำแนกตามกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 12 กลุ่มโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมผู้เรียนส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละอยู่ระหว่าง 64.21 ถึง 78.63 อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มโรงเรียน พบว่า กลุ่มโรงเรียนภูหลวง (X=78.63) รองลงมา คือ กลุ่มเขาใหญ่ (X=78.39), กลุ่มเมืองสูงเนิน (X=77.41), กลุ่มหนองสาหร่าย (X=75.64), กลุ่มกลางดง (X=71.71), กลุ่มคุรุมิตร (X=70.37), กลุ่มจตุรมิตร (X=70.18), กลุ่มมะเกลือ (X=69.30), กลุ่มปากช่อง (X=69.14), กลุ่มพญาสี่เขี้ยว (X=67.01), กลุ่มลำตะคอง (X=66.47), และกลุ่มกุดจิกนากลาง (X=64.21) ตามลำดับ
    5.3 เปรียบเทียบผลการประเมินการอ่านระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับศึกษาธิการภาค ระดับสังกัด และระดับประเทศ โดยภาพรวมระดับประเทศ อยู่ในระดับดี (X=70.66) เมื่อพิจารณาแยกตามระดับ พบว่า ระดับศึกษาธิการภาค (X=71.36) รองลงมา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (X=71.26), ระดับจังหวัด (X=70.63), และระดับสังกัด (X=70.00) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏผลดังนี้
        5.3.1 ความสามารถด้านการอ่านออกเสียง พบว่า ระดับศึกษาธิการภาค (X=69.57) รองลงมา ระดับจังหวัด (X=68.73), ระดับประเทศ (X=68.50), ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (X=68.09), และระดับสังกัด (X=67.49)
        5.3.2 ความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่อง พบว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (X=74.43) รองลงมา ระดับศึกษาธิการภาค (X=73.14), ระดับจังหวัด (X=72.53), ระดับประเทศ (X=72.81), และระดับสังกัด (X=72.51)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^