การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้วิจัย นางสาวพรรำไพ ศรชัย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ2) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ และ 4) เพื่อประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูผู้รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 389 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูจำนวน 20 คน นักเรียนอาสางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 26 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 290 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านระบบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 368 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ
ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบบันทึกการสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุมแบบ
มีส่วนร่วม โดยการตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนา ส่วนการประเมินโครงการมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นในการประเมินโครงการ เป็นสอบถาม 8 ชุด ประกอบด้วยด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการประเมิน 8 ระยะตามช่วงเวลา จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่า ครูมีความพร้อม แต่ยังขาดความรู้ ทักษะ แรงจูงใจ รวมถึงยังมีส่วนร่วมในการดำเนินงานน้อย นอกจากนี้ยังไม่มีรูปแบบ วิธีการในการที่เป็นรูปธรรมในการดำเนินงาน และมีข้อเสนอนำเทคนิคการมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินงาน และต้องการให้มีการนำเทคนิควิธีการแนวใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
2) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีวิธีการดำเนินงาน 5 องค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูก
ในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และมีการเรียนรู้สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน โดยแต่ละขั้นตอนจะแสดงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและแก้ไข ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51) และคู่มือการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.52)
3) ผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน 5 องค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และมีการเรียนรู้สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.62)
4) ผลการประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต
(P: Product Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ
ด้านกระบวนการ (P : Process Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) และการประเมินด้านประสิทธิภาพ (E: Effectiveness Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D. = 0.55) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้
(T: Transportability Evaluation) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.63)